วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
Motion graphic - Thailand travel
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=mWWsO1tcv7g&feature=related
เที่ยวเมืองไทยยั่งยืน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=ebHsefzFnq8&feature=related
เที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=C1hr-YghHfQ&feature=related
เชิญเที่ยวงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์

นายกเทศมนตรี เมืองปากช่อง ผนึกกำลังกับกลุ่มไม้ขีดไฟ ขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเป็นอำเภอต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์
กลุ่มไม้ขีดไฟ และเทศบาลเมืองปากช่อง ร่วมกับโครงการพื้นที่นี้ดีจัง โดยการสนับสนุน จากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็ก และเยาวชน(สสย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินกิจกรรม “เดิ่นนี้ดีจัง”เพื่อเด็กและครอบครัว เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กและครอบครัว ได้ใช้เวลาร่วมกัน ผ่านกิจกรรมการเล่นอย่างมีส่วนร่วม
นายศรัทธา ปลื้มสูงเนิน ผู้ประสานงานกลุ่มไม้ขีดไฟ กล่าวว่า
“เราต้องการให้สังคมเห็นตัวอย่างของพื้นที่ ที่ “ให้” เด็กบ้าง และเกิดแรงบันดาลใจที่ช่วยกันสร้างให้เกิดพื้นที่ดีดีในหลายๆพื้นที่ต่อไป เพราะพื้นที่สร้างสรรค์ คือ พื้นที่ ให้เด็ก ไม่ใช่พื้นที่ ห้ามเด็ก”
ในงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เดิ่นนี้ดีจัง เพื่อเด็กและครอบครัว เปิดโอกาสให้เด็ก ได้สนุกสนาน ให้ได้เรียนรู้ ให้ได้มีส่วนร่วม ให้ได้ลงมือทำกับกิจกรรม มากมาย ในงาน เช่น งานศิลปะ ร้อยลูกปัด ของเล่นทำเอง พร้อมนำผลงานของตัวเองกลับบ้านได้เลย และให้ได้อิ่มอร่อยกับขนมพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น พร้อมชมการแสดง “หนังบักตื้อ” หนังตะลุงอีสาน จากจังหวัดมหาสารคาม ฟังดนตรีสบายสไตล์ครอบครัว กับ วงโฮปแฟมิลี่
งานนี้จัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป ณ สวนสาธารณะเขาแคน ตลาดปากช่อง อ. ปากช่อง นครราชสีมา เพื่อร่วมมือร่วมใจ ให้อำเภอปากช่อง เป็นต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก และครอบครัว 1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์ ทั่วประเทศ”
ที่มา http://www.fai-dee.com/index.php/section-blog/28-current-users/13-2012-02-14-10-23-47.html
เที่ยวเดือนตุลาอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน

เดือนตุลาเวียนมา ทำไมฝนและน้ำท่วมยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ เศร้าใจอ่ะครับ ในฐานะนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์ อยากขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันให้ความช่วยเหลือพี่น้องในประเทศเราที่ลำบากจากภัยน้ำท่วมกันด้วยนะครับ เราเที่ยวได้ประสบการณ์ ความรู้ และความทรงจำดีๆจากที่ต่างๆแล้ว ถึงเวลาลำบาก อย่าลืมให้กลับคืนแก่สังคมและชุมชน เพื่อฟื้นฟูแหล่งที่อยู่และแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้อื่นได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์ที่ดีอย่างที่เราเคยได้กันด้วยน้อ เรียงหน้ามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า คราวที่แล้วได้ไปดูวิถีชีวิตชาวบ้านริมน้ำกับโฮมสเตย์เก๋เริ่ดกันมาแล้ว ตุลานี้ ลูกหลานเราปิดเทอม ผมขอแนะนำที่เที่ยวสร้างสรรค์เอาใจกระทรวงวัฒนธรรมกันเบาๆ กับธีม “ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน” ครับผม
ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนเบาๆ ว่าธีมของเราเดือนนี้นี่มันอะไรยังไง สำหรับการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วใช่ป่ะครับ ว่าคือการที่เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน จุดนี้ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็คือจะไฮไลท์วัฒนธรรมที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่งที่เราอาจจะยังไม่รู้จัก หรือยังไม่เป็นที่แพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวกันมากนัก เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ขาเที่ยวสร้างสรรค์ของเราได้เดินทางไปเสาะแสวงหาวัฒนธรรมความเป็นไทยเอาใจคุณทวด วัฒนธรรมท้องถิ่นหลายที่อาจเก๋ไก๋ทำเราเซอร์ไพรส์ขากรรไกรค้าง จุดนี้ต้องลองไปดู สำหรับเดือนนี้ มีทีเด็ดมาแนะนำสองที่ถ้วนครับ
กระแสรอยไหมเค้าแรงว่าไม่ได้ จริงๆก็ไม่ใช่คนตามกระแสอะไร แต่เห็นว่ามันเกี่ยวกันเฉยๆ ก็เลยอยากจะเดินตามรอยไหม และนำเสนอ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นที่แรก เชียงใหม่ถือเป็นหนึ่งจัดหวัดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสูงมากครับ ทั้งในสายตานักท่องเที่ยว และจากมุมมองของคนไทยด้วยกันเอง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่ ภายในบ้านไม้สักทรงไทยที่แสดงออกถึงสถาปัตยกรรมล้านนาอันละเอียดอ่อนนั้น มีการรวบรวมงานศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมของเชียงใหม่เอาไว้เป็นจำนวนมาก ไฮไลท์จะเป็นผ้าสบันงา (ตัดภาพไปยังชุดเลื่อมๆของชาย ชาตโยดม) และของที่ระลึกน่ารักให้เราซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรืออยากเข้าไปมีส่วนร่วมดูวิถีชีวิตชาวเขาเผ่าต่างๆก็ทำได้ หนึ่งในกิจกกรมเก๋ที่เราสามารถทดลองแล้วจินตนาการว่าเราเป็นนางเอกรอยไหม (ตัดภาพไปยังแอ๊ฟ ทักษอร) ก็คือการทอผ้าพื้นเมืองของชาวเขาครับ ตกเย็นก็นั่งรับประทานขันโตกอาหารพื้นเมืองชาวเหนือรสชาติเป็นเอกลักษณ์ และชมการแสดงฟ้อนพื้นเมืองชาวเชียงใหม่ หรือการแสดงจากชาวเขาเผ่าต่างๆแล้วแต่วันไหนจะไปป๊ะก๊ะเผ่าไหน บ้านไหนมีลูกสาวที่ทำท่าจะเปรี้ยวจนน้ำส้มอสร.ค้อนควรพาไปเที่ยวเชียงใหม่ วัฒนธรรมเชื่องช้าอ่อนช้อยของชาวเหนือจะซึมเข้ากระดูกจนน้ำส้มอสร.กลายเป็นแม่หญิงได้จนน่าตกใจ
ลงมาที่จังหวัดน่านครับ อยากจะพรีเซนท์ด้วยความเก๋จัดและรอบด้านของวัฒนธรรมจังหวัดน่านที่ถูกเอามารวมกันในที่เดียว คือ หอศิลป์พิงพฤกษ์ ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่านครับผม ที่นี่เค้าเก๋ยังไง? ต้องบอกก่อนว่าชื่อก็สื่ออยู่ว่าเป็นหอศิลป์ ดังนั้น ในสถานที่นี้จึงมีการจัดแสดงศิลปะแบบเมืองน่านดั้งเดิมของอาจารย์ สุรเดช กาละเสน ศิลปินเจ้าของผลงานจิตรกรรมฝาผนังตำนานประวัติศาสตร์เมืองน่าน ในอุโบสถวัดมิ่งเมืองซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หอศิลป์พิงพฤฏษ์มีให้ดูหมด ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม สื่อผสม ประติมากรรม ส่วนนี้ต้องสะกิดต่อมติสท์กันบ้างไม่มากก็น้อย ผลงานศิลปะแบบน่านดั้งเดิมของที่นี่ไม่ได้จะอยู่แต่ในกรอบรูปแขวนโชว์นะครับ แต่กระจายอยู่ทั่วไปตามส่วนต่างๆในบ้าน เข้าไปดูแล้วจะรู้สึกได้เลยว่านี่คือสถานที่ที่ผสมผสานความเป็นที่อยู่อาศัย และสุนทรียศาสตร์เอาไว้อย่างลงตัวจริงอะไรจริง ที่เก๋กว่านั้นคือครัวมะเก่า ครัวไม้ที่เก็บรวมรวมสิ่งของวัสดุเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดน่านที่ตกทอดสืบกันมาเป็นสิบสิบปี หลายชิ้นหาไม่ได้แล้วในปัจจุบัน แถมยังมีมุมทำผ้ามัดย้อมให้เราได้ทดลองทักษะด้านศิลปะด้วยตัวเอง ภูมิใจได้โล่ห์อ่ะจุดนี้ อุปกรณ์อะไรเค้าก็มีให้พร้อม สร้างสรรค์งานศิลปะเอากลับบ้านไปอวดคุณทวด แรงมากกกก
สองที่ที่แนะนำมานี้ เป็นแค่เศษเสี้ยววววของที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกมากมายในประเทศไทยที่เราสามารถไปเสาะแสวงหาได้อีกมากนักนะครับ วัฒนธรรมตีความรวมไปถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเกือบทั้งหมด และยังบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และวิถีชีวิตอันยิ่งใหญ่ของประเทศเราอีกด้วย ดังนั้นการมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมสามารถทำได้ง่ายๆเพียงเปิดใจ อย่าไปคิดว่าเราเป็นคนนอก ยึดถือวัฒนธรรมกรุงเทพฯ แล้วมองว่าวัฒนธรรมพื้นเมืองเป็นสิ่งที่ทีเอาไว้ดูเท่านั้นครับ ให้มองว่าวัฒนธรรมเหล่านี้คือวัฒนธรรมที่หลากหลายของไทย และเราเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมเหล่านี้ ให้เราโอบอุ้ม ยอมรับ และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เพื่อเปิดมุมมองใหม่และเข้าใจความแตกต่างที่เกิดขึ้น จะทำให้ประสบการณ์การท่องเที่ยวของเราลึกซึ้ง มีความหมาย และได้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมายครับ ไปเที่ยวมาสนุกขนาดไหนมาเล่าให้เราฟังได้นะครับ มีคอมเม้นท์อะไรก็จัดมาเลย อย่าไปกลัว!จะรอฟังครับผม
ที่มา http://www.creativetourism.com/c_articles/detail_articles/
เที่ยวอย่างเข้าใจ ไปกับ“การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”
การมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงตัวเลขและปริมาณแต่เพียงอย่างเดียว กลายเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบให้กับการท่องเที่ยวไม่น้อย ดังนั้นกลุ่มคนในแวดวงท่องเที่ยวมากมายจึงหันมาทบทวนรูปแบบการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น พร้อมคิดค้นการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่เคยประสบพบเจอ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ที่เพิ่งมีการให้นิยามของการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้มาได้ไม่นาน
“การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” เป็นคำศัพท์บัญญัติใหม่เพื่อใช้เรียกการท่องเที่ยวประเภทหนึ่งซึ่งมีมานานแล้ว แต่กลับไม่มีชื่อเรียก และเริ่มมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเภทนี้ในแวดวงการท่องเที่ยวแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ เป็นเวลาร่วมหนึ่งศตวรรษ จนนักวิชาการและผู้คร่ำหวอดด้านการท่องเที่ยวจากหลายมุมโลกได้รวมตัวกันในงานประชุมนานาชาติเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ เมืองซานตาเฟ มลรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายปี 2552 ทำให้เกิดคำนิยามอย่างเป็นทางการสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ว่าคือ “การท่องเที่ยวที่เน้นการเรียนรู้ในเรื่องศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของสถานที่ ผ่านประสบการณ์ตรงและการมีส่วนร่วมกับผู้คนเจ้าของวัฒนธรรม”
ดร. มุทริกา พฤกษาพงษ์ นักวิจัยอิสระเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กล่าวขยายความให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือการท่องเที่ยววิถีชีวิตที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะในเรื่องวิถีการอยู่อาศัย การประกอบอาชีพ อาหารการกิน ศิลปหัตถกรรม และอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชุมชนและผู้คนเจ้าของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวมีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ ผ่านการพูดคุยสนทนา และผ่านกิจกรรมทดลองปฏิบัติต่างๆ เช่น ทดลองทำอาหาร ทดลองทำศิลปหัตถกรรม หรือทดลองใช้ชีวิตตามอย่างผู้คนในชุมชน หรือการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจในวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของผู้คนและสถานที่นั้นๆ ผ่านประสบการณ์ตรง เรียกว่าเป็นเวทีการเรียนรู้แบบมีชีวิตนั่นเอง
เที่ยวอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้การท่องเที่ยวไทยยั่งยืน
ด้าน พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ทางอพท. ได้นำการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลใน 3 ส่วน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปก็อาจทำให้เสียสมดุล เช่น หากมุ่งเน้นจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ ก็จะทำให้ละเลยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและทำให้เสน่ห์ของชุมชนหายไป หรือหากมุ่งเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือศิลปวัฒนธรรมมากเกินไปจนไม่ปรับตัวเพื่อเปิดรับการท่องเที่ยว ชุมชนก็จะขายรายได้ เป็นต้น การพัฒนาการท่องเที่ยวจึงต้องคำนึงถึง 3 ส่วนนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรม แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ฯลฯ หากนักท่องเที่ยวเที่ยวหันมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กันมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเรา อีกทั้งคนในชุมชนก็ยังเกิดสำนึกรักในเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ที่ตนเองมีอยู่ หากนักท่องเที่ยวและเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกด้านดีร่วมกันเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนได้อย่างที่ตั้งใจ
ที่สุด.. ในเมืองไทย
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=yJC8qjmT3oM&feature=related
ใกล้ไกล .. ไปด้วยกัน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=KfhVZ5fMc_c&feature=related
ไปเที่ยวกันไหม
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=UiA1TUDHQ0g
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
10 สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวโรแมนติกที่สุดในโลก
10 สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวโรแมนติกที่สุดในโลก | ||||||||||
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่คู่รัก จะต้องแสดงออกถึงความรักระหว่างกันและกัน การแสดงออก ในเรื่องความรัก หมายถึง การทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกประทับใจ รู้สึกดี รู้สึกผูกพัน รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างเกิดประโยชน์มากขึ้น วิธีแสดงออกถึงความรัก ที่เป็นที่นิยมอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การได้ใช้เวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อนด้วยกันในสถานที่สวย ๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และกระชับสายสัมพันธ์ ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีก ต่อไปนี้คือ 10 อันดับสถานที่ ที่ถูกจัดว่า มีความโรแมนติกมากที่สุดในโลก ซึ่งน่าจะหาโอกาสพาคนรัก ไปเยี่ยมชม สักครั้งหนึ่งในชีวิต
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]() ขอบคุณข้อมูลจาก gunnerthailand.com |
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ท่องเที่ยวอาเซียน ช่อง 9 อสมท.
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=PDJuM0KcoHI
ไทยสู้การท่องเที่ยวสู่อาเซียน ไทยสู้การท่องเที่ยวสู่อาเซียน
ทีดีอาร์ไอเสนอโรดแม็พการเตรียมความพร้อมแรงงานฝีมือสาขาที่พักและการเดินทาง รองรับเสรีแรงงานอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า เน้นเพิ่มสมรรถนะทั้งแรงงานใหม่-เก่า ดึงสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนร่วม พัฒนาหลักสูตร ชูจุดแข็ง เสริมจุดอ่อน พัฒนาให้ถูกกลุ่ม ทำงานได้จริง ควรฝึกงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1-4 สื่อสารได้มากกว่า 3 ภาษา อย่ากังวลต่างชาติแย่งงาน เพราะเงื่อนไขเข้าเมืองไม่ง่าย อีกทั้งผลตอบแทนในกลุ่มอาเซียนด้วยกันยังไม่จูงใจ
การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียนจะมีผลเป็นทางการในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยอาเซียนมีกลไกข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ หรือ MRA (ASEAN Mutual Recognition Arrangement) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นของแรงงานฝีมือในสาขาต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้นักวิชาชีพอาเซียนสามารถเข้าไปทำงานในประเทศสมาชิกได้สะดวกมากขึ้น โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน แต่ยังคงต้องดำเนินขั้นตอนการเข้าเมืองอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ
สำหรับประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพแล้ว 7 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ ส่วนวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาที่อาเซียนให้ความสำคัญ และสมาชิก 9 ประเทศในอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมฯ เมื่อปี 2552 โดยไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังไม่ได้ลงนาม เนื่องจากติดเงื่อนไขต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญของประเทศ แต่ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน ไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงการเปิดเสรีอาเซียนได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงดำเนินการเตรียมพร้อมมาเป็นลำดับ และปัจจุบันได้จัดทำมาตรฐานสมรรถนะ (competency standard) และหลักสูตรอบรมเพื่อรองรับสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพท่องเที่ยวใน 32 ตำแหน่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังมีความละเอียดมากกว่ามาตรฐานที่ MRA กำหนด
น.ส.สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ และหัวหน้าโครงการศึกษากรอบความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทยใน 32 ตำแหน่งงาน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียน กล่าวว่า บุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวภายใต้กรอบ MRA อาเซียนประกอบด้วย 2 สาขาหลัก คือ สาขาที่พัก และสาขาการเดินทาง โดยสาขาที่พักประกอบด้วย 23 ตำแหน่งงานในแผนกต้อนรับ แผนกแม่บ้าน แผนกอาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนสาขาการเดินทางประกอบด้วย 9 ตำแหน่งงานในตัวแทนท่องเที่ยวและบริษัททัวร์ ข้อตกลง MRA ดังกล่าวครอบคลุมผู้มีงานทำในภาคท่องเที่ยวและโรงแรมของไทยกว่า 2.7 ล้านคน ที่จะได้รับประโยชน์จากการยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองและมีทางเลือกในการทำงานจากตลาดแรงงานที่ใหญ่ขึ้น และแม้ไม่เดินทางไปทำงานในประเทศอาเซียน ก็ทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรด้านท่องเที่ยวและโรงแรมคุณภาพดีที่พร้อมรับการแข่งขันเมื่อเปิดเสรีอาเซียน
การศึกษาพบว่า ในภาพรวมแรงงานด้านท่องเที่ยวของไทยใน 32 ตำแหน่งงานยังขาดแคลนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ แรง งานใหม่ที่จบการศึกษาสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัดในการทำงานที่ รู้แต่ทฤษฎี ซึ่งไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งงานในบางตำแหน่งโดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติยังขาดแคลน เช่น งานแม่บ้าน พนักงานซักรีด รวมถึงความอ่อนทักษะด้านภาษาในการสื่อสารกับผู้รับบริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมเพื่อประกันโอกาสให้กับแรงงานไทยว่าจะได้ประโยชน์หรือไม่สูญ เสียผลประโยชน์จากการปฏิบัติตามข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพโดยเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น จึงควรมีการจัดทำกรอบความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทยใน 32 ตำแหน่งงาน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย งานเอกสารและวิชาการ (รวมทั้งหลักสูตรและมาตรฐานสมรรถนะกำลังแรงงานไทย) บุคลากร ตลอดจนงบประมาณ รวมถึงการประเมินศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาฝีมือแรงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเปรียบเทียบกับความต้องการการพัฒนาฝีมือ การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ รวมทั้งระบบฐานข้อมูลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพแห่งอาเซียน และตำแหน่งงานในสาขาบริการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดไว้ใน MRA ด้วย
การเตรียมความพร้อมต้องทำทั้งแรงงานในระบบการศึกษาและแรงงานที่อยู่ในตลาด โดยควรเร่งรัดการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังแรงงานด้านการท่องเที่ยวให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเร่งพัฒนาสมรรถนะกำลังแรงงาน ให้มีการจัดทำกรอบความร่วมมือเฉพาะกิจกับสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ให้นำมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนเป็นบรรทัดฐานในการจัดทำหลักสูตรและการฝึกอบรม ผลิตกำลังแรงงานในสาขานี้ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะด้านทักษะภาษาต่างประเทศที่ยังเป็นจุดอ่อนของแรงงานไทยนั้น รัฐบาลควรถือเป็นโอกาสที่จะเร่งการพัฒนากำลังแรงงานที่เกี่ยวข้องในสาขาท่องเที่ยวให้มีความสามารถในการสื่อสารด้านภาษา ต้องทำให้คนไทยมีทักษะภาษาแบบมืออาชีพ สามารถสื่อสารภาษาได้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาเซียน
น.ส.สุวรรณา กล่าวว่า วิชาชีพท่องเที่ยวเป็นสาขาหนึ่งที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากเปิดสอน เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีความต้องการเรียน การผลิตกำลังแรงงานในด้านนี้ เฉพาะระดับปริญญาตรีแต่ละปีมีมากกว่าหนึ่งหมื่นคน ซึ่งเพียงพอแต่ยังขาดคุณภาพ จากหลักสูตรการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการแท้จริง สถาบันการศึกษาควรมีการทบทวนสาขาที่ผลิตแรงงานด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เป็นสาขาที่เป็นทักษะเชิงลึกตามความต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหารระดับหัวหน้างานและระดับกลางขึ้นไปในสาขาการท่องเที่ยว มีแนวโน้มขาดแคลนเนื่องจากมีอัตราเข้า-ออก (turn over) ในโรงแรมระดับมาตรฐานสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีการพัฒนาหัวหน้างานระดับต้น กลาง สูง ที่มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียน โดยเฉพาะทักษะการบริหาร การวางแผนอย่างเป็นระบบ และควรผลิตบุคลากรด้านแม่บ้านโรงแรม บริหารทั่วไปเพิ่มให้กับกำลังแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงาน เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้จบการศึกษาใหม่ๆ ไม่สนใจทำ
สถาบันการศึกษาควรปรับหลักสูตรด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวให้เป็นหลักสูตรเชิงลึกมากขึ้น การฝึกงานของนักศึกษาควรเป็นการฝึกร่วมกับสถานประกอบการ โดยให้มีระยะเวลาการฝึกงานตั้งแต่ 3 เดือนต่อเนื่องไปจนถึง 1 ปี หรือฝึกสม่ำเสมอตั้งแต่ปี 1-4 และจัดการฝึกงานให้อยู่ในช่วงที่มีความต้องการใช้แรงงานสูง หรือ High Season เพื่อได้เรียนรู้ประสบการณ์จริง และให้เน้นบทบาทสมาพันธ์วิชาชีพในการดำเนินการ จะมีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐทำเอง
"การเตรียมพร้อมแรงงานวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียนของไทยนั้นควรเน้นชู จุดแข็ง เสริมจุดอ่อน และพัฒนาคนให้ถูกกลุ่ม จึงจะสร้างความสมดุลในตลาดแรงงานด้านนี้ทั้งภายในประเทศ และเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดเสรีอาเซียนได้ เช่น ผู้ทำงานในสาขาโรงแรมที่พักจำเป็นต้องได้รับการเสริมความรู้ด้านภาษา นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ควรรู้ภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในอาเซียน ส่วนผู้ทำงานสาขาเดินทาง เช่น คนที่เป็นผู้แนะนำการเดินทาง หรือผู้จัดการท่องเที่ยว ควรยกระดับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ความเชี่ยวชาญแหล่งท่องเที่ยวเป้าหมาย เป็นต้น"
อย่างไรก็ตาม จากความกังวลว่าหากเปิดเสรีแรงงานอาเซียนแล้วจะทำให้คนต่างชาติเข้ามา "แย่งงาน" คนไทยนั้น นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ไม่ควรวิตก เพราะแม้จะผ่านการรับรองตามมาตรฐานอาเซียนแล้ว แต่ผู้ประกอบวิชาชีพยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของประเทศที่เข้าไปทำงานตามปกติ เช่น การสอบ การขึ้นทะเบียน การขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว เป็นต้น ในปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายแรงงานสาขาต่างๆ อยู่แล้ว ทั้งคนไทยไปทำงานต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ไปทำงานนอกกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่กลุ่มแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในสาขาท่องเที่ยวและที่พักนั้นพบว่ามีจำนวนไม่มาก เพียงหลักพันคนเท่านั้น ส่วนใหญ่เข้ามาทำงานตำแหน่งนักร้อง นักดนตรี เช่น แรงงานจากฟิลิปปินส์ นอกจากนี้รายได้ที่ไม่ แตกต่างกันมากของประเทศในกลุ่มอาเซียนยังไม่จูงใจให้มีการย้ายไปทำงาน เพราะเทียบกับภาระค่าใช้จ่ายอาจไม่คุ้ม ส่วนใหญ่จึงนิยมไปทำงานในประเทศที่มีผลตอบแทนสูง เช่น ประเทศในยุโรป และอเมริกา
นอกจากนี้ตัวอย่างการรวมตัวของประชาคมยุโรป (EU) พบว่ามีการเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศกลุ่มยุโรปด้วยกันน้อย ประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรวิตกมากนัก แต่ควรตระหนักในการเตรียมความพร้อมเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานภายในประเทศให้สม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของชาติ และเป็นโอกาสให้แรงงานวิชาชีพของไทยมีโอกาสหาประสบการณ์ทำงานในตลาดต่างประเทศ
หากเมื่อใดประเทศไทยสามารถลงนาม MRA วิชาชีพท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ ก็จะทำให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ และเกิดการผลักดันการพัฒนาฝีมือแรงงานวิชาชีพท่องเที่ยวของไทยได้ตามแนวทางที่ได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง : 24 ก.ค.2554
ที่มา http://www.stcc.ac.th/asean/index.php?option=com_content&view=article&id=60:road-map&catid=1:latest-news&Itemid=82&lang=th
การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียนจะมีผลเป็นทางการในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยอาเซียนมีกลไกข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ หรือ MRA (ASEAN Mutual Recognition Arrangement) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นของแรงงานฝีมือในสาขาต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้นักวิชาชีพอาเซียนสามารถเข้าไปทำงานในประเทศสมาชิกได้สะดวกมากขึ้น โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน แต่ยังคงต้องดำเนินขั้นตอนการเข้าเมืองอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ
สำหรับประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพแล้ว 7 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ ส่วนวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาที่อาเซียนให้ความสำคัญ และสมาชิก 9 ประเทศในอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมฯ เมื่อปี 2552 โดยไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังไม่ได้ลงนาม เนื่องจากติดเงื่อนไขต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญของประเทศ แต่ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน ไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงการเปิดเสรีอาเซียนได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงดำเนินการเตรียมพร้อมมาเป็นลำดับ และปัจจุบันได้จัดทำมาตรฐานสมรรถนะ (competency standard) และหลักสูตรอบรมเพื่อรองรับสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพท่องเที่ยวใน 32 ตำแหน่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังมีความละเอียดมากกว่ามาตรฐานที่ MRA กำหนด
น.ส.สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ และหัวหน้าโครงการศึกษากรอบความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทยใน 32 ตำแหน่งงาน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียน กล่าวว่า บุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวภายใต้กรอบ MRA อาเซียนประกอบด้วย 2 สาขาหลัก คือ สาขาที่พัก และสาขาการเดินทาง โดยสาขาที่พักประกอบด้วย 23 ตำแหน่งงานในแผนกต้อนรับ แผนกแม่บ้าน แผนกอาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนสาขาการเดินทางประกอบด้วย 9 ตำแหน่งงานในตัวแทนท่องเที่ยวและบริษัททัวร์ ข้อตกลง MRA ดังกล่าวครอบคลุมผู้มีงานทำในภาคท่องเที่ยวและโรงแรมของไทยกว่า 2.7 ล้านคน ที่จะได้รับประโยชน์จากการยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองและมีทางเลือกในการทำงานจากตลาดแรงงานที่ใหญ่ขึ้น และแม้ไม่เดินทางไปทำงานในประเทศอาเซียน ก็ทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรด้านท่องเที่ยวและโรงแรมคุณภาพดีที่พร้อมรับการแข่งขันเมื่อเปิดเสรีอาเซียน
การศึกษาพบว่า ในภาพรวมแรงงานด้านท่องเที่ยวของไทยใน 32 ตำแหน่งงานยังขาดแคลนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ แรง งานใหม่ที่จบการศึกษาสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัดในการทำงานที่ รู้แต่ทฤษฎี ซึ่งไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งงานในบางตำแหน่งโดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติยังขาดแคลน เช่น งานแม่บ้าน พนักงานซักรีด รวมถึงความอ่อนทักษะด้านภาษาในการสื่อสารกับผู้รับบริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมเพื่อประกันโอกาสให้กับแรงงานไทยว่าจะได้ประโยชน์หรือไม่สูญ เสียผลประโยชน์จากการปฏิบัติตามข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพโดยเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น จึงควรมีการจัดทำกรอบความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทยใน 32 ตำแหน่งงาน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย งานเอกสารและวิชาการ (รวมทั้งหลักสูตรและมาตรฐานสมรรถนะกำลังแรงงานไทย) บุคลากร ตลอดจนงบประมาณ รวมถึงการประเมินศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาฝีมือแรงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเปรียบเทียบกับความต้องการการพัฒนาฝีมือ การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ รวมทั้งระบบฐานข้อมูลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพแห่งอาเซียน และตำแหน่งงานในสาขาบริการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดไว้ใน MRA ด้วย
การเตรียมความพร้อมต้องทำทั้งแรงงานในระบบการศึกษาและแรงงานที่อยู่ในตลาด โดยควรเร่งรัดการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังแรงงานด้านการท่องเที่ยวให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเร่งพัฒนาสมรรถนะกำลังแรงงาน ให้มีการจัดทำกรอบความร่วมมือเฉพาะกิจกับสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ให้นำมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนเป็นบรรทัดฐานในการจัดทำหลักสูตรและการฝึกอบรม ผลิตกำลังแรงงานในสาขานี้ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะด้านทักษะภาษาต่างประเทศที่ยังเป็นจุดอ่อนของแรงงานไทยนั้น รัฐบาลควรถือเป็นโอกาสที่จะเร่งการพัฒนากำลังแรงงานที่เกี่ยวข้องในสาขาท่องเที่ยวให้มีความสามารถในการสื่อสารด้านภาษา ต้องทำให้คนไทยมีทักษะภาษาแบบมืออาชีพ สามารถสื่อสารภาษาได้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาเซียน
น.ส.สุวรรณา กล่าวว่า วิชาชีพท่องเที่ยวเป็นสาขาหนึ่งที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากเปิดสอน เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีความต้องการเรียน การผลิตกำลังแรงงานในด้านนี้ เฉพาะระดับปริญญาตรีแต่ละปีมีมากกว่าหนึ่งหมื่นคน ซึ่งเพียงพอแต่ยังขาดคุณภาพ จากหลักสูตรการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการแท้จริง สถาบันการศึกษาควรมีการทบทวนสาขาที่ผลิตแรงงานด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เป็นสาขาที่เป็นทักษะเชิงลึกตามความต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหารระดับหัวหน้างานและระดับกลางขึ้นไปในสาขาการท่องเที่ยว มีแนวโน้มขาดแคลนเนื่องจากมีอัตราเข้า-ออก (turn over) ในโรงแรมระดับมาตรฐานสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีการพัฒนาหัวหน้างานระดับต้น กลาง สูง ที่มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียน โดยเฉพาะทักษะการบริหาร การวางแผนอย่างเป็นระบบ และควรผลิตบุคลากรด้านแม่บ้านโรงแรม บริหารทั่วไปเพิ่มให้กับกำลังแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงาน เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้จบการศึกษาใหม่ๆ ไม่สนใจทำ
สถาบันการศึกษาควรปรับหลักสูตรด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวให้เป็นหลักสูตรเชิงลึกมากขึ้น การฝึกงานของนักศึกษาควรเป็นการฝึกร่วมกับสถานประกอบการ โดยให้มีระยะเวลาการฝึกงานตั้งแต่ 3 เดือนต่อเนื่องไปจนถึง 1 ปี หรือฝึกสม่ำเสมอตั้งแต่ปี 1-4 และจัดการฝึกงานให้อยู่ในช่วงที่มีความต้องการใช้แรงงานสูง หรือ High Season เพื่อได้เรียนรู้ประสบการณ์จริง และให้เน้นบทบาทสมาพันธ์วิชาชีพในการดำเนินการ จะมีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐทำเอง
"การเตรียมพร้อมแรงงานวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียนของไทยนั้นควรเน้นชู จุดแข็ง เสริมจุดอ่อน และพัฒนาคนให้ถูกกลุ่ม จึงจะสร้างความสมดุลในตลาดแรงงานด้านนี้ทั้งภายในประเทศ และเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดเสรีอาเซียนได้ เช่น ผู้ทำงานในสาขาโรงแรมที่พักจำเป็นต้องได้รับการเสริมความรู้ด้านภาษา นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ควรรู้ภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในอาเซียน ส่วนผู้ทำงานสาขาเดินทาง เช่น คนที่เป็นผู้แนะนำการเดินทาง หรือผู้จัดการท่องเที่ยว ควรยกระดับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ความเชี่ยวชาญแหล่งท่องเที่ยวเป้าหมาย เป็นต้น"
อย่างไรก็ตาม จากความกังวลว่าหากเปิดเสรีแรงงานอาเซียนแล้วจะทำให้คนต่างชาติเข้ามา "แย่งงาน" คนไทยนั้น นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ไม่ควรวิตก เพราะแม้จะผ่านการรับรองตามมาตรฐานอาเซียนแล้ว แต่ผู้ประกอบวิชาชีพยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของประเทศที่เข้าไปทำงานตามปกติ เช่น การสอบ การขึ้นทะเบียน การขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว เป็นต้น ในปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายแรงงานสาขาต่างๆ อยู่แล้ว ทั้งคนไทยไปทำงานต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ไปทำงานนอกกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่กลุ่มแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในสาขาท่องเที่ยวและที่พักนั้นพบว่ามีจำนวนไม่มาก เพียงหลักพันคนเท่านั้น ส่วนใหญ่เข้ามาทำงานตำแหน่งนักร้อง นักดนตรี เช่น แรงงานจากฟิลิปปินส์ นอกจากนี้รายได้ที่ไม่ แตกต่างกันมากของประเทศในกลุ่มอาเซียนยังไม่จูงใจให้มีการย้ายไปทำงาน เพราะเทียบกับภาระค่าใช้จ่ายอาจไม่คุ้ม ส่วนใหญ่จึงนิยมไปทำงานในประเทศที่มีผลตอบแทนสูง เช่น ประเทศในยุโรป และอเมริกา
นอกจากนี้ตัวอย่างการรวมตัวของประชาคมยุโรป (EU) พบว่ามีการเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศกลุ่มยุโรปด้วยกันน้อย ประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรวิตกมากนัก แต่ควรตระหนักในการเตรียมความพร้อมเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานภายในประเทศให้สม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของชาติ และเป็นโอกาสให้แรงงานวิชาชีพของไทยมีโอกาสหาประสบการณ์ทำงานในตลาดต่างประเทศ
หากเมื่อใดประเทศไทยสามารถลงนาม MRA วิชาชีพท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ ก็จะทำให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ และเกิดการผลักดันการพัฒนาฝีมือแรงงานวิชาชีพท่องเที่ยวของไทยได้ตามแนวทางที่ได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง : 24 ก.ค.2554
ที่มา http://www.stcc.ac.th/asean/index.php?option=com_content&view=article&id=60:road-map&catid=1:latest-news&Itemid=82&lang=th
ท่องโลกอาเซียน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=IbWLmDTLWSs&feature=related
ท่องเที่ยวฯ จัดทำแผนรับมือAECเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
อีกไม่กี่ปีประเทศไทยก็จะเป็นประเทศหนึ่งที่ก้าวเข้าไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงมีการเตรียมพร้อมในทุกด้าน สำหรับในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ล่าสุดได้จัดงานสัมมนาเรื่อง"อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยกับการเป็น AEC-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน *ความเป็นมาของอาเซียน
หลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA : ASEAN Free Trade Area) บรรลุเป้าหมายในปี พ.ศ.2546 อาเซียนให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่องที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤสจิกายนพ.ศ.2545 ณ ประเทศกัมพูชาเห็นชอบให้อาเซียนกำหนดการดำเนินงาน เพื่อมุ่งไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ในปี พ.ศ.2546 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำออกแถลงการณ์ Bali Concord ll เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 และให้เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (Priority Sectors) ต่อมาเพิ่มสาขาโลจิสติกส์อีกหนึ่งสาขา รวมเป็นทั้งหมด 12 สาขา และกำหนดประเทศผู้ประสานงานในแต่ละสาขา ดังนี้ พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตรและสาขาประมง, มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยางและสาขาสิ่งทอ, ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์, สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาสุขภาพ, ไทย สาขาการท่องเที่ยว (โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และสาขาการบิน, เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์
สำหรับเป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาณเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งเร่งเร็วขึ้นมา 5 ปี (เดิมกำหนดไว้ในปี พ.ศ.2563) มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เพื่อมุ่งให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน
ส่วนแผนดำเนินการ (Roadmap) ไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การค้าบริการ (การท่องเที่ยวรวมอยู่ในการค้าบริการ) ตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการอย่างชัดเจน ให้เป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และพัฒนาระบบการยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพในสาขาบริการ รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนของอาเซียนไปยังประเทศที่สาม ไปยังประเทศที่สาม
ที่มา http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=15163&filename=index
หลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA : ASEAN Free Trade Area) บรรลุเป้าหมายในปี พ.ศ.2546 อาเซียนให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่องที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤสจิกายนพ.ศ.2545 ณ ประเทศกัมพูชาเห็นชอบให้อาเซียนกำหนดการดำเนินงาน เพื่อมุ่งไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ในปี พ.ศ.2546 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำออกแถลงการณ์ Bali Concord ll เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 และให้เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (Priority Sectors) ต่อมาเพิ่มสาขาโลจิสติกส์อีกหนึ่งสาขา รวมเป็นทั้งหมด 12 สาขา และกำหนดประเทศผู้ประสานงานในแต่ละสาขา ดังนี้ พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตรและสาขาประมง, มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยางและสาขาสิ่งทอ, ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์, สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาสุขภาพ, ไทย สาขาการท่องเที่ยว (โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และสาขาการบิน, เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์
สำหรับเป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาณเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งเร่งเร็วขึ้นมา 5 ปี (เดิมกำหนดไว้ในปี พ.ศ.2563) มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เพื่อมุ่งให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน
ส่วนแผนดำเนินการ (Roadmap) ไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การค้าบริการ (การท่องเที่ยวรวมอยู่ในการค้าบริการ) ตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการอย่างชัดเจน ให้เป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และพัฒนาระบบการยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพในสาขาบริการ รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนของอาเซียนไปยังประเทศที่สาม ไปยังประเทศที่สาม
ที่มา http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=15163&filename=index
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ ชอปปิ้งและท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ (SANTORINI PARK CHA-AM) แหล่งช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ย่านหัวหิน-ชะอำ ที่มาพร้อมสโลแกน "Amused Shopping Experience" หรือ "สีสันใหม่แห่งประสบการณ์ความสนุก" โดยมี นัสวีร์ ตันติจิรสกุล กรรมการผู้จัดการโครงการ ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ นั่งแท่นบริหาร ภายใต้คอนเซ็ปต์ค้าปลีกที่แตกต่าง บนพื้นที่กว่า 60 ไร่ ท่ามกลางสถาปัตยกรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศอันงดงามของเกาะซานโตรินี ประเทศกรีซ พร้อมสนุกไปกับเครื่องเล่นนานาชนิดที่สั่งตรงจากต่างประเทศ ที่นี่จะมอบสีสันใหม่แห่งประสบการณ์ความสนุก ให้คุณประทับใจมิรู้ลืม







นัสวีร์ ตันติจิรสกุล กรรมการผู้จัดการโครงการ ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ กล่าวว่า หัวหิน-ชะอำ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งโครงการ "ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ" จะเปิดประสบการณ์ใหม่ในรูปของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคอนเซ็ปต์โดดเด่นและแตกต่าง และสามารถปลุกกระแสการท่องเที่ยวให้กับหัวหิน-ชะอำได้มากขึ้น ด้วยสถานที่ตั้งที่สะดวกในการเดินทาง บนถนนเพชรเกษมขาเข้ากรุงเทพฯ ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 190 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางเพียง 2 ชั่วโมงเศษ หรือจากหัวหินเพียง 20 นาที ก็จะได้สัมผัสการช้อปปิ้งที่มาพร้อมความสนุกในทุกย่างก้าว

โดยการรวมเอาร้านค้าชั้นนำ สินค้าที่มีสไตล์เฉพาะตัว งานศิลปะ สวนสนุก และความร่มรื่นของต้นไม้เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้แรงบันดาลใจในการออกแบบโครงการมาจากบรรยากาศสบายๆ ที่สวยงามของสถาปัตยกรรมสีฟ้าขาวบนเกาะซานโตรินี ประเทศกรีซ อีกทั้งต้นเฟื่องฟ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาะก็ยังมีส่วนในการเพิ่มสีสันที่เข้ากันได้ดี รวมถึงกริมมิกต่างๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่พบเห็นได้บนเกาะซานโตรินี เช่น ทางเดินลายก้อนหิน ที่จะแทรกตัวอยู่ทั่วทั้งโครงการ ผสานเข้ากับลูกเล่นหลากหลายที่เสริมเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำพุ งานประติมากรรมที่ใช้สอยได้ เราจึงเชื่อว่าทุกมุมของ "ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ" จะทำให้นักท่องเที่ยวเพลิดเพลินไปกับการบันทึกภาพประทับใจอย่างมีความสุขในทุกบริเวณ

ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ ใช้เงินลงทุนกว่า 500 ล้านบาท บนพื้นที่ 60 ไร่ โดยแบ่งเป็น 5 โซนหลัก เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว โซนที่เป็นไฮไลท์ คือ โซนวิลเลจ (Village) ซึ่งเราได้รวบรวมร้านค้าที่ตอบสนองความต้องการและความชอบได้ทุกเพศ ทุกวัย ที่ไม่เพียงมีสินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง แฟชั่นแอ็คเซสซอรี่ส์ สินค้าไลฟ์สไตล์ อาร์ตแอนด์เดคคอร์เท่านั้น แต่ยังเปิดรับสินค้าจากผู้ประกอบการ SME ที่มีแนวความคิดอินเทรนด์ไม่ซ้ำใคร ซึ่งล้วนผ่านการเลือกเฟ้นมาทั้งสิ้น การเดินช้อปปิ้งในโซนนี้จะให้ความรู้สึกราวกับกำลังเดินชมร้านรวงบนเกาะซานโตรินี ซึ่งทุกร้าน ทุกแบรนด์ จะออกแบบหน้าร้านให้กลมกลืนกับตัวอาคาร นอกจากนี้ ยังมีส่วนของร้านอาหารชั้นนำ เพสตรี้ช้อป และ คาเฟ่ ให้ได้เพลิดเพลินในระหว่างช้อปปิ้ง

อีกหนึ่งโซนที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ โซนพาร์ค (Park) ที่ยกเอาสวนสนุกขนาดย่อมมาไว้บนพื้นที่สีเขียว เครื่องเล่นทุกชิ้นผ่านการคัดสรรมาอย่างดีในแง่ความสนุก ความแปลกใหม่ และความปลอดภัย ทั้ง Ferris Wheel ชิงช้าสวรรค์ที่สูงถึง 40 เมตร ให้นักท่องเที่ยวได้เห็นโครงการในมุม Bird's eye view อย่างจุใจ และยังเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของโครงการนี้อีกด้วย นอกจากนั้น ยังมี Merry Go Round หรือ ม้าหมุน 2 ชั้น และ Ponycycles ม้าโยกสุดคลาสสิก ที่จะหมุนพาไปสู่สัมผัสแห่งเทพนิยาย สำหรับผู้ที่รักความตื่นเต้น เราก็มีเครื่องเล่นหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น G-Max Reverse Bungee แคปซูลดีดขึ้นฟ้า และ G-Max Giant Swing นำเข้าจากประเทศนิวซีแลนด์ ผู้นำด้านกิจกรรมแอดเวนเจอร์ Wallholla เครื่องเล่นปีนป่ายที่มีรางวัลการันตีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตัวแรกของเอเชีย รวมถึง XD Dark Ride เครื่องเล่น 7D สุดไฮเทคที่สั่งตรงจากประเทศแคนาดา และ 4DX Rider โรงภาพยนตร์สุดยอดประสบการณ์ 4 มิติ พิเศษสำหรับ Slider และ Water Ball เป็นความสนุกเพิ่มเติมที่เราจัดมาบริการ ฟรี!

อีก 3 โซนที่เหลือก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โซนอีเว้นท์ (Event) จัดให้เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดปี ทั้งกิจกรรมพิเศษ โชว์ต่างๆ บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร หรือคอนเสิร์ตที่จุผู้ชมได้ถึง 2,000 ที่นั่ง และ 5,000 คนยืน ในส่วน โซนวีคเอนด์ อาร์ต มาร์เก็ต (Weekend Art Market) ที่จะจัดขึ้นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ คนรักงานศิลปะจะได้เพลิดเพลินไปกับการเลือกซื้อสินค้าแฮนด์เมดที่ไม่เหมือนใครในบรรยากาศตลาดนัดในสวน ท้ายสุด เรายังจัดให้มี โซนเรสต์ แอเรีย (Rest Area) ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้มาใช้บริการภายในพาร์ค และผู้ที่สัญจรจากจังหวัดทางภาคใต้มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ เนื่องจากอาคารอยู่ติดถนนเพชรเกษมจึงสามารถรองรับลูกค้าได้ทั้ง 2 ด้าน ด้วยร้านอาหารที่รอพร้อมเสิร์ฟกว่า 10 ร้าน นั่งจิบกาแฟในบรรยากาศสบายๆ ทั้งยังมีร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของฝาก ร้านขายยา และปั๊มน้ำมันขนาด 8 หัวจ่ายไว้บริการ จัดว่าเป็นโซนที่ให้บริการผู้เดินทางได้อย่างครบถ้วน

โครงการซานโตรินี พาร์ค ชะอำ เปิดทุกวัน วันจันทร์-พฤหัสบดี เปิดบริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 21.00 น. โดยไม่เสียค่าบัตรผ่านประตู
วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ค่าบัตรผ่านประตูเพียงท่านละ 50 บาท
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่นับได้ว่าเป็นจุดหมาย ด้านการท่องเที่ยวของนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง จากลักษณะที่โดดเด่น ของประเทศซึ่งมีประวัติศาสตร์โบราณคดีอันเป็นอารยะ มีความหลากหลาย ทางชาติพันธุ์ มีความงดงามทางประเพณีวัฒนธรรม มีแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติ แหล่งพันธุ์พืชและสัตว์ที่น่าสนใจ และที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งคือ ประชาชนชาวไทยมีจิตใจโอบอ้อมอารี เต็มไปด้วยมิตรไมตรี ทำให้ประเทศ ไทยมีศักยภาพสูงในพัฒนาการท่องเที่ยวได้ในหลากหลายมุมมองและ หลากหลายกระบวนการ
สำหรับการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวของประเทศไทยเพื่อมุ่ง ไปสู่รูปแบบของการจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์นั้น ภารกิจการท่องเที่ยว สร้างสรรค์ขององค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน (องค์การมหาชน) ได้เริ่มต้นขึ้น โดยในเบื้องต้นจะเป็นการนำเสนอ แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์แก่ชุมชน เกิดเป็นต้นแบบของแนว ทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาท่องเที่ยว เพื่อหารูปแบบของการจัด การการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ พร้อมกับประเมินผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่ผู้มีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนจะได้รับ ทั้งที่สามารถจับต้องได้ เช่น รายได้ และที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความสามัคคี ความหวงแหนในท้องถิ่น ตลอดจนศึกษาผลดีผลเสียในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย ที่ผ่านมา ชุมชนในประเทศไทยได้มีการนำแนวทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางเพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชน และใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่ง ท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์
การจัดการการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมจะเอื้อประโยชน์ต่อการ อนุรักษ์อย่างชัดเจน และเป็นกระบวนการสำคัญในการก่อเกิดจิตสำนึกร่วม กันในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศในชุมชน ทั้งจากการร่วมคิด ร่วมทำ สร้างกระบวนการกลุ่ม เมื่อมีการจัดการอย่างเป็นระบบและประสบความ สำเร็จแล้ว ยังสามารถขยายผลไปในพื้นที่ข้างเคียงและพื้นที่อื่นๆ ได้ แหล่งท่องเที่ยวและชุมชนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเครือข่าย จนกลายเป็นพลังในการสร้างฐานความรู้สำหรับการ พัฒนาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า "การท่องเที่ยว สร้างสรรค์มีรากฐานจากชุมชนสร้างสรรค์ และต้องใช้ทุนทางสังคมต่าง ๆ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวสร้างสรรค์" (สว่างพงศ์, ๒๕๕๔)
ที่มา
เกาะล้าน
เกาะล้านเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาช้านาน เพราะอยู่ใกล้กับพัทยามาก ตามเกาะมีหาดทรายขาวละเอียดและแนวปะการัง มีหลายหาด จึงเหมาะกับนักท่องเที่ยวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการความสนุกสนานจากเครื่องเล่นนานาชนิด เจ็ทสกี เรือกล้วย กิจกรรมบนชายหาด หากเป็นฝรั่งก็นั่ง+นอน อาบแดดริมหาดกันเต็ม
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการดำน้ำชมประการัง มีเกาะเล็ก ๆ ใกล้กับเกาะล้านให้ไปเที่ยวชมอีก 2 เกาะคือ เกาะครกและเกาะสาก ทั้งสองเกาะสามารถดำน้ำได้ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น นักท่องเที่ยวต้องเช่าเรือจากเกาะล้านหรือพัทยาใต้ไป โดยต้องจัดหาอุปกรณ์ดำน้ำไปเอง
สำหรับผมขี่มอเตอร์ไซท์บิดไปรอบหาด เห็นจะดีกว่า
หาดที่ผมได้ไปสัมผัสมาภายใน ครึ่งวัน ที่ เกาะล้าน ได้แก่
- หาดตาแหวน เป็นหาดที่เรือเร็วจะมาจอด และคนพลุกพล่านมากที่สุด
- หาดแสม เป็นหาดทีมีกิจกรรมทางทะเล ทางเทศบาลจัดให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
- หาดเทียน เป็นหาดมีความคึกคักปานกลางอยู่อีกด้านของเกาะล้าน
- หาดนวล เป็นหาดที่ยอดนิยมเก่าแก่ ชายหาดสั้นกว่าหาดอื่นๆ
- หาดตายาย เป็นหาดขนาดเล็ก และเงียบสงบ ใกล้ท่าเรือเกาะล้าน
ที่พักบนเกาะล้าน
ผมใช้เวลา3-4 ชม.สำรวจที่พักบนเกาะ ส่วนใหญ่จะอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ติดหาด เป็นแบบกึ่งเกสท์เฮ้าสท์ ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกใด หากใครคาดหวังจะพักบังกะโลบรรยากาศริมหาด ลืมไปได้เลย
ผมแนะนำ ที่พักหาดพัทยา จะดีกว่า พอตกเช้าก็เช่าเหมาเรือเร็วมาเที่ยวได้ทั้งวัน นั่งเรือประมาณ 40 นาที ราคาเหมาลำประมาณ 2500 บาท หาดเที่ยวรอบเกาะโดยเรือ จะต้องจ่ายเพิ่มอีกหน่อย (แล้วแต่ต่อรองกันเองครับ) หรือจะนั่งเรือสาธารณะที่ท่าเรือแถวพัทยาใต้ ก็ได้ ประหยัดดีแต่ช้าหน่อย พอเรือจอดแถวท่าเรือบนเกาะล้าน ควรเช่ามอเตอร์ไซท์ซ้อนสาวเที่ยว คงจะดีไม่น้อย จุดหลักๆ ที่อยากแนะนำ คือชายหาดต่างๆ ข้างต้น จุดชมวิวเกาะล้าน(อยู่แถวหาดแสม-หาดตาแหวน) เมือขี่รถผ่านจะมีป้ายบอก กิจกรรมบนเกาะอีกอย่างคือยิ่งปืน แต่ราคาต่อนัด แพงมั๊กมาก ตบท้ายบรรยากาศยามเย็นที่หาดตาแหวน อาหารทะเลที่นี่สดและถูกมาก ลองไปดูซิแล้วจะรู้... ข้อมูลโดย thai-tour.com
ที่มา : http://www.thai-tour.com/thai-tour/east/chonburi/data/place/pic_kohlarn.htm
ที่สุดของโรงในไทย..
โรงแรมเลอ บัว แอท สเตท ทาวเวอร์ - Sirocco
ภัตตาคาร Sirocco ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 63 ของเดอะโดม ถือเป็นจุดที่มีทัศนียภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ และสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นร้านอาหารบนยอดตึกโรงแรมที่มีวิวสวยที่สุดแล้ว Sirocco ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 'Hot Tables' & 'Hot Night' โดย Conde Nast Traveler เมื่อปี ค.ศ. 2005 และได้รับการขนานนามว่าเป็นภัตตาคารแบบเปิดโล่งที่ “สูงที่สุดในโลก” อีกด้วย
ที่สำคัญ อาหารที่นี่ยังอร่อยและขึ้นชื่อ การันตีด้วยรางวัลร้านอาหารยอดเยี่ยม แถมดนตรีก็ไพเราะ เหมาะสำหรับท่านที่ชื่นชอบฟังเพลงแจ๊ส ส่วนเรื่องบรรยากาศนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ชนิดสวยตะลึงของกรุงเทพฯ และแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งในเวลาโพล้เพล้และยามค่ำคืน
ที่มา http://news.edtguide.com/541_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1-10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3
นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นร้านอาหารบนยอดตึกโรงแรมที่มีวิวสวยที่สุดแล้ว Sirocco ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 'Hot Tables' & 'Hot Night' โดย Conde Nast Traveler เมื่อปี ค.ศ. 2005 และได้รับการขนานนามว่าเป็นภัตตาคารแบบเปิดโล่งที่ “สูงที่สุดในโลก” อีกด้วย
ที่สำคัญ อาหารที่นี่ยังอร่อยและขึ้นชื่อ การันตีด้วยรางวัลร้านอาหารยอดเยี่ยม แถมดนตรีก็ไพเราะ เหมาะสำหรับท่านที่ชื่นชอบฟังเพลงแจ๊ส ส่วนเรื่องบรรยากาศนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ชนิดสวยตะลึงของกรุงเทพฯ และแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งในเวลาโพล้เพล้และยามค่ำคืน
ที่มา http://news.edtguide.com/541_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1-10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3
ชมสวนกล้วยไม้

ไอยเรศ
กล้วยไม้ไทยพันธ์แท้และลูกผสมกล้วยไม้ไทยพันธ์ต่างๆ
ที่สวยงามมีชื่อเรียกมากมาย ถ้าไม่ใช่คนที่เคยปลูกเลี้ยง
หรือคนที่ใจรักจริงๆมักจะจำชื่อได้ยาก เป็นเพราะผู้ปลูกเลี้ยง
หรือนักปรับปรุง บำรุงพันธ์ สามารถพัฒนาสายพันธ์ให้มีสีสัน
สดสวย แปลกตาไปได้เรื่อยๆ ตามจินตนาการของผู้ปรับปรุงสายพันธ์
และตั้งชื่อเรียกขานกันขึ้นมาใหม่

ช้างแดง
เฮียใหญ่เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารหลายฉบับ และเคยเล่าให้พวกเราฟังหลายครั้งว่า
"คนเห็นกล้วยไม้ตามร้านที่ขายออกดอกสวยก็ซื้อไปปลูก มาใหม่ๆขยันรดน้ำ
อยู่ไปดอกเริ่มโรย ก็เริ่มรดบ้างไม่รดบ้าง นานเข้าก็เฉาตาย ก็จะบ่นว่ากล้วยไม้เลี้ยงยาก"

เอ.....อีหนูนี่....ช้างกระ..หรือช้างพลายน้อ!..(มั่วอีกแล้วป้าส้ม)
เฮียก็เลยฝากมาบอกพวกเราถ้าอยากเลี้ยงกล้วยไม้ ให้เสียเวลาศึกษาสักนิด
ดูพื้นฐานของกล้วยไม้แต่ละสกุล ชนิด สายพันธุ์ สายเลือด
ว่าต้นทางเจริญเติบโตขึ้นอยู่ที่ภูมิภาคใด มีบรรยากาศแบบไหน
เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงแล้ว จะเป็นอย่างไรที่บ้านเรา แม้กระทั่งโรงเรือน
หรือสถานที่เรานำมาแขวนโชว์หรือเลี้ยงเขานั่น เหมาะสมกับเขาหรือเปล่า
ตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวาจะมีทุกวันศุกร วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ที่หยุดต่อเนื่อง แต่เวลา 13.00-22.00 น.
ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ที่มา http://www.maeklongtoday.com/tour/floatingmarket.php
ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ที่มา http://www.maeklongtoday.com/tour/floatingmarket.php
วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555
เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=MxwmFRpb2OQ&feature=related
เมืองไทย ครั้งหนึ่งในชีวิต
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=72bjKVKPI0o&feature=related
วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
โรงแรมปลอดบุหรี่ สถานที่พักนักเที่ยวรักสุขภาพ โรงแรมปลอดบุหรี่ สถานที่พักนักเที่ยวรักสุขภาพ
โรงแรมปลอดบุหรี่ สถานที่พักนักเที่ยวรักสุขภาพ
"การท่องเที่ยว พักผ่อน จะยิ่งพิเศษและมีความสุขมากขึ้นถ้าได้อยู่ในโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ"
แล้วแบบไหน คือ โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ
"โครงการโรงแรมปลอดบุหรี่ (Smoke-Free Hotel)" เป็นจุดเริ่มต้น ที่ขยายไปสู่การทำมาตรฐานของโรงแรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่ประกอบไปด้วยมาตรฐาน 9 อย่าง คือ 1.โรงแรมปลอดบุหรี่ 2.สปาและการนวดสร้างเสริมสุขภาพ 3.สถานที่ออกกำลังกายและสระว่ายน้ำ และกิจกรรมกลางแจ้ง 4.พนักงานทำความ สะอาด 5.ครัวและห้องอาหาร 6.รายการอาหารเพื่อสุขภาพ 7.งานวิศว กรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างเสริมสุขภาพ 8.การจัดประชุมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 9.รายการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันโรงแรมปลอดบุหรี่มีทั้งหมด 570 แห่ง ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการด้วย มูลนิธิใบไม้เขียว ภายใต้การสนับสนุนจากสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีโรงแรมที่ได้รับดาวเงิน จำนวน 35 แห่ง คือ สามารถจัดห้องพักปลอดบุหรี่ได้ถึงร้อยละ 65-75 ของห้องพักทั้งหมด ระดับดาวทองจำนวน 372 แห่ง คือ มีพื้นที่ห้องพักปลอดบุหรี่มากกว่าร้อยละ 75-100
จากผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อทัศนคติของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เข้าพักในโรงแรมระดับ 3-4 ดาว จำนวน 5,550 คน ในโรงแรม 25 แห่ง อาทิ กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา กระบี่ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 มีทัศนะว่าควันบุหรี่มีผลต่อสุขภาพของคนรอบข้าง ร้อยละ 92 ต้องการพักห้องที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่าทั้งในห้องพัก และห้องอาหาร ส่วนมากคนต้องการให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
ขณะนี้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข กำหนดสถานที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนโดยรวม ซึ่งบริเวณพื้นที่ของโรงแรม รีสอร์ต หรือสถานที่ตากอากาศ ก็กำหนดให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่เช่นกัน
ท.พ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การที่มีโรงแรมเข้าร่วมโครงการโรงแรมปลอดบุหรี่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรงแรมที่เข้าร่วม 570 แห่ง และยังมีโรงแรมรุ่นใหม่ๆ ที่ทยอยเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัลแบบเกียรติบัตรถึง 163 แห่ง ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการเริ่มต้นที่ดีของสังคมไทยที่จะสร้างชื่อเสียงให้ปรากฏต่อสายตานักท่องเที่ยวว่าเมืองไทยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาบุหรี่
ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่คนเราเลิกบุหรี่ก็เท่ากับต่อลมหายใจตัวเองและคนรอบข้างให้ยาวนาน ปราศจากโรค และเพื่อลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อมที่มีแต่ให้อากาศบริสุทธิ์เสมอมา ซึ่งแน่นอนว่าหากสังคมไทยทำได้ ก็ย่อมโชว์ภาพลักษณ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เช่นกัน
โรงแรมที่จะเข้าร่วมโครงการ "โรงแรมสร้างเสริมสุขภาพ" จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ ต้องผ่านการเข้าร่วมโครงการโรงแรมปลอดบุหรี่ในระดับต่างๆ ได้โดยมีเนื้อหาคือ จัดให้มีพื้นที่ปรับอากาศสาธารณะ เป็นพื้นที่ไม่สูบบุหรี่ และติดป้าย ห้ามสูบบุหรี่ ให้เห็นชัดเจน เพื่อสามารถปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการแจ้งให้ผู้ที่มาใช้บริการว่า มีห้องปลอดบุหรี่ให้เลือกได้ตามความต้องการ ก่อนที่จะขยายไปทำตามมาตรฐานทั้ง 9 ข้อ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการก็มีการแจกรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้ดำเนินธุรกิจเข้าร่วมมากขึ้น ตัวอย่าง รีสอร์ตที่โดดเด่นในด้านความเข้มงวดของการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบและกำหนดให้ห้องพักกลายเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่อย่างชัดเจน
นายอุดม ศรีมหาโชตะ กรรมการบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บ้านทะเลดาวหัวหิน รีสอร์ท ซึ่งได้รับรางวัลดาวทองอธิบายว่า ทางรีสอร์ตไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในห้องพัก แต่จะจัดโซนสูบบุหรี่ไว้ข้างนอกละพยายามปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มรื่น เพื่อจะได้มีอากาศที่บริสุทธิ์ เหตุผลที่ต้องดำเนินการเช่นนี้ เพราะในอดีตหากอนุญาตให้ผู้เข้าพักสูบบุหรี่ ภาระค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ก็มากไปด้วย เราลงทุนมากก็ต้องเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติม คงไม่มีลูกค้ารายใดต้องการ
นายโฮลเกอร์ โกรนินเกอร์ ผอ.ฝ่ายอาคาร สถานที สยามเบยชอร์รีสอร์ท พัทยา ในฐานะตัวแทนโรงแรมที่ได้รับรางวัลระดับดาวเงิน กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการรณรงค์ปลอดบุหรี่ นอกจากเรื่องการจัดโซนห้องพักที่แบ่งชัดเจนเป็นสองส่วนแล้ว เรื่องการกำชับพนักงานไม่ให้สูบก็สำคัญไม่ต่างกัน การรับพนักงานแต่ละครั้งนอกเหนือจากความสามารถแล้ว หากรายใดไม่มีประวัติการสูบบุหรี่จะพิจารณาเป็น ลำดับแรกๆ ส่วนในตัวลูกค้าเองแรกเข้าพักพนักงานบริการจะสอบถามก่อนว่า สูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าสูบก็จะแนะนำห้องในโซนที่สูบบุหรี่ให้ เพื่อความสะดวกของลูกค้า นอกจากนี้ยังมีกระบวน การสอบถามผ่านการจองห้องพักออนไลน์ด้วย เพราะทางรีสอร์ตเห็นว่า เรื่องสุขภาพที่ดีต้องมาก่อน จึงเหมาะแก่ช่วงเวลาพักผ่อน
นายวิสูตร เทศสมบูรณ์ ผู้จัดการกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ตในเครือซันเซ็ทกรุ๊ป กล่าวว่า โครง การนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง โรง แรมพร้อมจะร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ โดยปีนี้รู้สึกภูมิใจที่มีโรงแรมในเครือได้รับรางวัลถึง 2 แห่ง คาดว่าในปีต่อๆ ไปจะพยายามพัฒนาพื้นที่ของโรงแรมให้ปลอดบุหรี่ถึงร้อยละ 90 เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งต่อบุคคลและต่อสภาพแวดล้อม
"อยากเชิญชวนให้โรงแรมทุกแห่งมาร่วมโครงการ เรื่องบุหรี่เป็นปัญหาเรื้อรัง คนในสังคมควรมีความผิดชอบ ซึ่งส่วนนี้เป็นหัวใจหลักในการกำชับพนักงานให้สูบบุหรี่ในพื้นที่ๆ ทางโรงแรมจัดให้เท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่ต้องต้อนรับลูกค้าบ่อยๆ และติดบุหรี่ก็ต้องกำชับเรื่องความสะอาด ของร่างกายและกลิ่นตัว" นายวิสูตร กล่าว
หากเริ่มต้นจากการลดสิ่งที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างควันบุหรี่ได้ ก็จะนำไปสู่การเริ่มต้นสร้างเสริมสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ ทั้งสิ่งแวดล้อมที่ดี อาหารดีๆ สถานที่ที่เหมาะกับการออกกำลังกาย ไม่ว่านักท่องเที่ยวคนใดก็อยากเข้ามาใช้บริการ เพราะจะได้ทั้งความสุข และสุขภาพดีๆ กลับบ้าน
ที่มาhttp://khaosod.myfri3nd.com/blog/2011/08/18/entry-7
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=eyNGYpdcgRQ
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน มุ่ง สร้างกระแสให้คนไทยให้รู้สึกตื่นตัวอยากลุกออกมาท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพื่อช่วยเศรษฐกิจชาติ และ ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวนั้นกลับมาคึกคักเหมือนที่เคยเป็นมา ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของคนไทยต้องไปสัมผัสด้วยสายตาของตัวเอง โดยนำเรื่องของเวลาเข้ามาเป็นจุดกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว เพราะถ้าในปีนั้นๆใครพลาดแล้ว ก็ถือว่าจะพลาดเลย
แนวความ12 เดือน 24 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยที่ถูกคัดสรรมาแล้วว่า น่าดูที่สุด สวยที่สุดในแต่ละเดือน
7 ดาว 7 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยที่สุด น่าเที่ยวที่สุดในยามค่ำคืน
9 ตะวัน 9 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวยามกลางวันที่จะงดงามที่สุดเมื่อถูกอาบด้วยแสงตะวัน
12 เดือน….
คิด คือ มองว่าเราจะสามารถสัมผัสกับสุดยอดมุมมองของการท่องเที่ยว เฉพาะเมื่อเราได้ไปอยู่ในตำแหน่งและ ในช่วงเวลาที่ถูกต้องเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาของการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุด สวยงามมากที่สุด ดังนั้นการที่เราได้รู้ว่าช่วงเวลาไหนควรไปที่ใด จุดไหนที่ต้องไป และเรียนรู้การท่องเที่ยวแบบถูกต้องก็จะยิ่งทำให้เราได้ชื่นชม และ ใช้เวลาในการออกไปท่องเที่ยวได้อย่างคุ้มค่า คุ้มเวลา และสมบูรณ์มากที่สุด จากแนวความคิดนี้จึงเป็นที่มาของโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
12 เดือน 24 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยที่ถูกคัดสรรมาแล้วว่า น่าดูที่สุด สวยที่สุดในแต่ละเดือน
7 ดาว 7 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยที่สุด น่าเที่ยวที่สุดในยามค่ำคืน
9 ตะวัน 9 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวยามกลางวันที่จะงดงามที่สุดเมื่อถูกอาบด้วยแสงตะวัน
12 เดือน….
ที่มาhttp://www.anubansatit.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538922803&Ntype=8
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
สุดยอดโรงแรมแนวสร้างสรรค์และเซ็กซี่
การออกแบบตกแต่งห้องพักของโรงแรม นับเป็นงานที่น่าสนุกสนานและท้าทาย มากกว่างานออกแบบที่พักอาศัยแบบอื่นๆ เพราะการออกแบบโรงแรม เป็นการออกแบบที่พักแบบชั่วคราว จึงมีโจทย์และแนวทางการออกแบบ แตกต่างไปจากการออกแบบที่พักอาศัยที่ถาวรเช่นบ้าน
โรงแรมต้องการสร้างจุดขายของตนเอง เพื่อให้โดดเด่นกว่าโรงแรมอื่นๆ และการเข้าพักของแขก ก็ชั่วครั้งชั่วคราว การออกแบบจึงแทบไม่มีข้อจำกัดเลยก็ว่าได้ จะให้ตื่นเต้น โลดโผน พิสดาร ยังไง พอได้เวลาปรับปรุง (ประมาณ 5-8 ปี) เขาก็เปลี่ยนใหม่หมดได้ เพราะใช้งานคุ้มค่าแล้ว ไม่เหมือนบ้านที่เราอยู่ ต้องอยู่ทุกวัน จะมาเปลี่ยนเรื่อยๆก็จนกันพอดี เรามาดูที่เขาออกแบบกันดีกว่า
ที่มา http://www.decorreport.com/a19385-%E0%B8%AA-%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A3-%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8B-%E0%B8%81%E0%B8%8B


เทรนด์ใหม่ “บูติค โฮเทล ลดโลกร้อน” แนวคิดเพื่อความยั่งยืน
ในช่วงระยะหลายปีมานี้ กระแสของ “บูติค โฮเทล” (Boutique Hotel) นับได้ว่ามาแรงเป็นอย่างยิ่ง และแนวโน้มความนิยมในปีนี้ก็คาดว่าน่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากการที่มีโรงแรม หรือ รีสอร์ท ที่เรียกตัวเองว่าเป็น “บูติค โฮเทล” ผุดขึ้นมากมาย
นอกจากนี้ในยุคที่โลกตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน ตื่นตัวกับกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติ ทำให้ บูติค โฮเทลยุคใหม่มีการปรับตัวมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นับเป็นเทรนด์โรงแรมยุคใหม่ที่จะมาแรงในปีนี้และต่อไปในอนาคต
อะไรคือ “บูติค โฮเทล”
เชื่อกันว่า บูติค โฮเทล เกิดขึ้นครั้งแรกในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อันเนื่องมาจากความต้องการและไลฟ์สไตล์ของนักเดินทางที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ต้องการประสบการณ์และความประทับใจในการเข้าพักในโรงแรม นอกเหนือจากความหรูหรา สะดวกสบาย ที่มีอยู่ในโรงแรมทั่วๆ ไป เรียกได้ว่า บูติค โฮเทล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักเดินทางที่ต้องการความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์
บูติค โฮเทล จะเป็นโรงแรมขนาดเล็ก ที่ให้ความสำคัญในการตอบสนองความต้องการของนักเดินทางในแต่ละกลุ่ม และส่วนใหญ่จะมีการดีไซน์ การตกแต่ง หรือธีมในการสร้างโรงแรมที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกจุดหนึ่งก็คือ การใส่ใจในรายละเอียดของลูกค้าแต่ละคน เพราะเนื่องจากโรงแรมมีขนาดเล็ก จึงทำให้พนักงานมีความใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากกว่าโรงแรมขนาดใหญ่
ด้วยเหตุที่ต้องค้นหาตัวตนที่เป็นจุดเด่นของตัวเอง แต่ละโรงแรมจึงพยายามสรรหาบุคลิกของตัวเอง ให้แตกต่าง และโดดเด่นจากคู่แข่ง เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เลือกเข้ามาใช้บริการ
และอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงควบคู่กับบูติก โฮเทล ก็คือ โรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
บูติค โฮเทล กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
สมัยนี้ ไม่ว่าจะไปส่วนไหนของโลก ก็มีแต่คนพูดถึงเรื่องโลกร้อน และการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญและเข้าไปสอดแทรกกับแทบทุกเรื่องในชีวิต ซึ่งก็รวมไปถึงการเดินทางท่องเที่ยว และการเข้าพักโรงแรมด้วยเช่นกัน
“กรีน โฮเทล” แนวคิดที่ควบคู่ไปกับการทำบูติคโฮเทล ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้กับแหล่งท่องเที่ยว และให้กับตัวโรงแรมเองด้วย
โรงแรมส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเริ่มสนับสนุนให้แขกที่มาพักเก็บผ้าเช็ดตัวไว้ใช้ซ้ำโดยที่ไม่ต้องส่งซักทุกวัน หลายๆ โรงแรมก็เปลี่ยนมาใช้บัตรเพื่อเปิดระบบไฟฟ้าในห้องพัก และใช้หลอดประหยัดไฟในพื้นที่ส่วนกลาง โรงแรมจำนวนมากหันมาใช้กระดาษรีไซเคิล จำกัดการใช้พลาสติก ใช้ฝักบัวประหยัดน้ำ และใช้โปรแกรมชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิด “กรีน โฮเทล”
ตั้งแต่ปี 2550 ก็เริ่มมีการจัดอันดับ “กรีน โฮเทล” ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากอโกด้า และสำหรับปี 2553 ที่เพิ่งผ่านมา ก็ได้มีการจัดอันดับโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยเช่นกัน โดยนอกเหนือจากจะเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นหลักแล้ว ยังเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์วัฒนธรรม และชุมชนอีกด้วย
ที่มา http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000184623
รีสอร์ทเพื่อสุขภาพสายพันธุ์ใหม่
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์ ยิ่งในปัจจุบันโรคภัยมีมากมายอันเกิดจากสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไป ระบบการใช้ชีวิตที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคที่มีวิวัฒนาการใหม่ๆ โดยตลอด เกิดโรคระบาดสายพันธ์ใหม่มากมาย เช่น ไข้หวัด 2009 เป็นต้น ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ ซึ่งต้นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีนั่นเอง
อาคารสาธารณะเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญที่ทำให้โรคแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว มาตรการป้องกันไม่ใช่เพียงแค่วัวหายล้อมคอก แต่ควรจัดระบบไว้ตั้งแต่ต้นทั้ง การระบายอากาศที่ดี การระบายน้ำเสีย การลดการสะสมของฝุ่นละออง
อาคารสาธารณะประเภทโรงเรียน, ติวเตอร์, โรงภาพยนตร์, ภัตตาคาร, ห้างสรรพสินค้า ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งการออกแบบที่ดีจะช่วยลดการแพร่เชื้อได้
โรงแรมและรีสอร์ทก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง ถ้าได้รับการออกแบบที่ดีและนำเอาการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ, การบำบัดรักษาโรคไปเป็นจุดขายก็น่าจะเป็นวิธีการสร้างสรรค์ที่ดีและแตกต่างในยุคนี้ ในขณะที่โรงพยาบาลที่ด้อยคุณภาพอาจจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ใหญ่ที่สุด ถ้าไม่ได้ตรวจสอบระบบภายในอาคารให้ดี เช่น เครื่องปรับอากาศที่อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแพร่กระจายอันรวดเร็ว ระบบท่อฝังของเครื่องปรับอากาศที่ควรจะสามารถเข้าไปทำความสะอาดได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึง โรงพยาบาลบางแห่ง หนู, แมลงสาบและสัตว์นำโรคอื่นๆ อาจเพาะพันธ์อยู่เหนือฝ้าเพดานจนไม่สามารถกำจัดได้
ไอเดียที่สามารถผนวกมาตรฐานในการให้บริการของโรงแรมหรือรีสอร์ท กับมาตรฐาน การดูแลสุขภาพ, รักษาโดยแพทย์ก็น่าจะเป็นโครงการสายพันธ์ใหม่ที่ทันกับกระแสความห่วงใยเรื่องสุขภาพของคนในโลกนี้โครงการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ, โครงการโรงพยาบาลแนวใหม่ผสมผสานโรงแรมและรีสอร์ท โครงการรีสอร์ทที่เป็นศูนย์บำบัดโรคบางประเภท ฯลฯ
แนวคิดที่ใช้วิธีการรวม ผนวกของ 2 โครงการเป็นการนำข้อดีของอีกโครงการบวกกับข้อดีของอีกโครงการแล้วสร้างสรรค์ออกมาเป็นธุรกิจแนวใหม่
โรงแรมและรีสอร์ทมีการให้บริการและการดูแลรักษาคนที่มาใช้จากพยาบาลและคุณหมอ หรือโรงพยาบาลที่ไม่น่าเบื่อ ไม่น่ากลัวอีกต่อไปเพราะบรรยากาศการตกแต่งสวยยิ่งกว่าโรงแรมเสียอีก โปรแกรมข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบเริ่มจากการนำลักษณะเฉพาะของโครงการมาใช้ร่วมกันจาก 2 ความต่างดังนี้
1. การออกแบบห้องพัก เป็นการผสมไอเดียของเตียงโรงพยาบาลที่ปรับระดับได้กับเตียงโรงแรม, รีสอร์ท ที่มีการตกแต่งหัวเตียงแบบมีเอกลักษณ์ การออกแบบห้องน้ำโดยกำหนดเป็นบานเลื่อนและไม่มีสเต็ปเพื่อความปลอดภัยมีราวจับกันลื่น ใช้พยุงตัวในขณะที่มีสีสันบรรยากาศสวยงามไม่เหมือนโรงพยาบาลมีการกำหนดวัสดุประเภททำความสะอาดง่าย ไม่มีร่องลึก คำนึงถึงผิวสัมผัสที่ดีสำหรับผู้ป่วยมีการวางระบบท่อออกซิเจน และท่ออื่นๆ สำหรับการรักษาโรคแต่ฝังให้กลมกลืนกับบรรยากาศไม่ให้ดูน่ากลัวแต่กลับดูน่าอยู่แทน ซึ่งถึงแม้โรงแรม รีสอร์ทแห่งนี้จะไม่รองรับคนป่วย แต่คนสูงอายุหรือคนทั่วไปก็ใช้ได้ดีในแนวทางของ “UNIVERSAL DESIGN” ซึ่งกลายเป็นจุดขายใหม่ของโครงการเลยก็เป็นได้
2. การออกแบบร้านอาหาร, ภัตตาคาร มีการกำหนดเมนูเพื่อสุขภาพ สร้างความสมดุลของอาหาร มีการออกแบบแสงสว่างที่ไม่ทำให้สีอาหารเพี้ยนจากความเป็นจริง มีการออกแบบการระบายอากาศ ไม่ให้โครงการมีกลิ่นอับ มีการแนะนำการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับอาการป่วย โดยมีนางพยาบาล เจ้าหน้าที่เพื่อสุขภาพอนามัยคอยดูแลตลอด ออกแบบห้องพิเศษสำหรับบางโรคที่ต้องการความเป็นส่วนตัวเพื่อไม่ให้เกิดการระบาด ออกแบบอาคารที่เปิดโล่ง ไม่ให้เกิดการเก็บฝุ่น ไม่มีฝ้าเพดานเน้นโชว์โครงสร้างและสัจจะวัสดุให้ดูแลรักษาง่าย
3. การออกแบบโถงต้อนรับและส่วนบริการทั่วไป มีลักษณะเฉพาะ เช่น การต้อนรับแบบ ลิฟวิ่ง คือไม่จำเป็นต้องปะทะกับเคาน์เตอร์ เปลี่ยนวิธีการให้บริการแบบเป็นกันเองเป็นชุดนั่งเล่นรับแขก เจ้าหน้าที่เป็นพยาบาลหรือบุรุษพยาบาล โดยแต่งกายให้มีสไตล์สวยงาม มีห้องสำหรับตรวจไข้เบื้องต้นและแบ่งแยกกลุ่มคนไข้ออกเป็นโซนๆ ตามประเภทกลุ่มโรคต่างๆ แล้วกำหนดการให้บริการ โดยใช้พื้นฐานทางสัญจรและการแบ่งส่วนหน้า (แขกผู้ป่วย) ส่วนหลัง (เจ้าหน้าที่พนักงาน) อย่างชัดเจนผนวกการแบ่งระหว่าง โรงแรมและโรงพยาบาลอย่างกลมกลืน
ที่มา http://www.oknation.net/blog/u-sabuy/2009/06/27/entry-1

เที่ยวลำคลอง ท่องวิถีไทย
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=DP5Y0fq_u5M&feature=related
ท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=QdcuJ_A2OKM
การท่องเที่ยวชุมชน บนทางเลือก-ทางรอด
การท่องเที่ยวชุมชน บนทางเลือก-ทางรอด
บทความน่ารู้ : เรื่องการท่องเที่ยวชุมชน บนทางเลือก-ทางรอด
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน
ปัจจุบันรูปแบบการท่องเที่ยวบ้านเราได้ปรับเปลี่ยนไปหลายแนวทาง นอกเหนือจากการท่องเที่ยวตามประเพณีนิยมที่ทำกันมายาวนานที่ไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักคุ้นเคยกันดี ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่จำเพาะเจาะจงมากขึ้น
ทุกวันนี้เรามีชุมชนเล็กๆมากมายที่เปิดตัวเองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนนี้กำลังเป็นจุดเปลี่ยนของโลกแห่งการท่องเที่ยว เป็นทางเลือกใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว
นิยาม การท่องเที่ยวโดยชุมชน (จากหนังสือ เที่ยวให้รู้เปิดประตูสมอง) คือการท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดกระบวนการทิศทาง และรูปแบบการท่องเที่ยวของตนเอง ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยวนั้นๆ และมีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนนั้นมีจุดขายที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต การอนุรักษ์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่คนรุ่นลูกหลานและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง
การท่องเที่ยวชุมชน ผลดี-ผลเสีย
นิยาม การท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดกระบวนการทิศทาง และรูปแบบการท่องเที่ยวของตนเอง ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยวนั้นๆ และมีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนนั้นมีจุดขายที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต การอนุรักษ์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่คนรุ่นลูกหลานและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง
อาจารย์ ธันยพร วณิชฤทธา นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ ได้กล่าวถึงข้อดีของการท่องเที่ยวชุมชนว่า ก่อนอื่นมันจะมี 2 คำ คือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งแตกต่างกัน “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” จะจัดการเองโดยชุมชน แต่ “การท่องเที่ยวชุมชน” อาจจะอาศัยองค์ประกอบของชุมชนที่มีอยู่แล้วหรือศักยภาพเป็นตัวฐาน แล้วอาจจะเป็นผู้ประกอบการหรือรัฐเข้ามาให้เที่ยวในชุมชน
สำหรับประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับมีหลายทาง คือประโยชน์ในด้านการพัฒนาของชุมชนเองโดยที่การท่องเที่ยวทำขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาหรือความต้องการของชุมชนบางอย่างแต่ไม่ได้เพื่อความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นประโยชน์ก็จะตอบกับชุมชนนั้นๆ เช่น ต้องการแก้ปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อม ชุมชนนั้นก็จะได้การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม ดังนั้นประโยชน์ก็คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายกับชุมชนในตอนแรกเพื่อประโยชน์ทางด้านการพัฒนาการจัดการมากกว่าประโยชน์ในเรื่องรายได้
แต่หากชุมชนนั้นไม่ได้รับทราบความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง ยังไม่รู้จักว่าตัวเองต้องการอะไร อาจจะเป็นข้อเสียเพราะเมื่อมีการท่องเที่ยวกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจมันจะมาพร้อมๆกัน คือพอคนมาเที่ยวก็ต้องเกิดการใช้จ่าย แต่ถ้าผู้จัดการท่องเที่ยวชุมชนไปเห็นถึงรายได้มากกว่าเป้าหมายในตอนแรก เช่น เป้าหมายในเรื่องของการอนุรักษ์ การดูแลสิ่งแวดล้อม แม้กระทั้งการแก้ปัญหาการยากจน ถ้าเรามุ่งเป้าหมายเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเดียวก็จะได้ข้อเสีย อาจมีการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เข้าใจกัน เพราะลืมความต้องการของตัวเองไป
และความไม่พร้อมเมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาก็ไม่มีการเตรียมตัว ว่าต้องทำอย่างไร ต้องจัดสถานที่อย่างไรให้เหมาะสม หรืออาจจะเป็นภัยกับนักท่องเที่ยวถ้าไม่มีการเตรียมตัว อาจจะมีกลุ่มคนที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรืออาจจะนำเรื่องของวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา ถ้าปราศจากการเตรียมพร้อมก็จะเป็นข้อเสียมากกว่า แต่ถ้ามีการเตรียมพร้อมข้อเสียก็จะมีน้อยลง ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะแก้ไปเรื่อยๆ การท่องเที่ยวมันจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่แล้ว
ส่วนประโยชน์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อไปท่องเที่ยวชุมชนก็คือ นักท่องเที่ยวก็จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งโดยที่ผู้จัดการเป็นคนที่เป็นเจ้าของโดยตรง การท่องเที่ยวชุมชนแตกต่างกับการท่องเที่ยวอื่นๆตรงที่ผู้จัดการเป็นเจ้าของเอง การท่องเที่ยวอื่นๆผู้จัดการอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของเองแต่อาศัยแหล่งท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวชุมชนนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับตัวตนหรือวัตถุประสงค์ สมมุติต้องการนำเสนอในด้านของสิ่งแวดล้อมในเรื่องของต้นไม้ อาจจะพาไปดูพรุ ป่า น้ำ ก็จะนำเสนอสิ่งนั้น จะถูกนำเสนอจากคนที่เป็นเจ้าของหรือคนใน ก็จะได้รับประโยชน์ที่เป็นข้อเท็จจริงและจะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน อาจจะเป็นการปลูกฝังการอนุรักษ์หรืออะไรก็แล้วแต่ก็จะตอบโจทย์นั้นๆไปพร้อมๆกัน
อ.ธันยพร ยังแนะอีกด้วยว่า ชุมชนต้องตระหนักถึงเป้าหมายของตนเองเป็นสิ่งแรก ว่าเราอยากจะทำท่องเที่ยวเพื่ออะไร ไม่ใช่ตามเขา ถ้าตามเขา เขาทำแล้วดียังไง ทำตามเขาแล้วคนมาเยอะ พี่น้องเรารวย ก็ไม่ดี ต้องรู้ว่าทำไปเพื่ออะไร เพื่อป้องกันการย้ายถิ่น ไม่อยากให้ลูกหลานไปทำงานข้างนอก แล้วมาวางแผนจะดำเนินการอย่างไรในด้านการท่องเที่ยวลูกหลานจะได้มาทำงานสร้างเยาวชน มันก็จะมีประโยชน์แล้วเป็นไปตามเป้าหมาย เราต้องระมัดระวังว่าเราต้องการอะไร แล้วเราทำไปตามนั้นไหม
อีกเรื่องที่ควรต้องระมัดระวังก็คือเรื่องความชัดเจนของผู้ดำเนินการ คือ เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว ใครล่ะที่จะเป็นผู้ดำเนินการ ทุกคนควรต้องมีส่วนร่วม ขึ้นอยู่กับว่าจะมีส่วนร่วมในลักษณะใด เช่นผู้นำชุมชนจะต้องมีกระบวนการวางโครงสร้างว่า กลุ่มเด็กจะมีหน้าที่อะไร กลุ่มผู้ดำเนินการต้องมีความชัดเจนแล้วเป็นไปอย่างประสานความร่วมมือสามัคคีกัน ถ้าต่างคนต่างทำก็อาจจะขัดแย้งกันได้
อ.ธันยพร ยังได้ยกตัวอย่างชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ตนชื่นชอบ คือ บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ บ้านแม่กำปองได้รับรางวัลและมีคนพูดถึงเยอะ แต่แม่กำปองมีความน่าสนใจตรงสภาพพื้นที่ ธรรมชาติของภาคเหนือ สวยงาม สดชื่น เย็นสบาย และที่สำคัญคือเขามีระบบการจัดการที่เป็นตัวของตัวเองมีลักษณะเฉพาะ การทำงานของผู้นำ การทำงานของกลุ่ม ความเป็นธรรมชาติที่เป็นไลฟ์สไตย์ ชอบที่การเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนของเขามีสัดส่วนที่ชัดเจน
อีกแห่งคือ บ้านผาหมอน จ.เชียงใหม่ เป็นของชนเผ่าปากะยอ ประทับใจในความตั้งใจในการพัฒนา เขาเป็นชนเผ่าแต่เขาเรียนรู้ มีความเป็นตัวของตัวเอง เขาโชคดีที่มีธรรมชาติที่สวยงาม เคยเป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่งใจเดียวกันด้วย สองสถานที่นี้ต่างกัน ถ้าเป็นบ้านผาหมอนถือว่าเพิ่งเริ่มเป็นบันไดขั้นต้นๆ แต่ถ้าเป็นบ้านแม่กำปองอาจจะอยู่ชั้นบนๆแล้ว
รัฐจัดการ ผิดจริตท่องเที่ยวชุมชน
ด้าน รองศาสตราจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และนักวิชาการอิสระ กล่าวถึงการท่องเที่ยวชุมชนว่า การท่องเที่ยวชุมชนในความคิดของตนหมายถึง เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน คือให้คนในท้องถิ่นนั้นในชุมชนนั้นดูแลของเขาเอง เป็นไกด์ เป็นการอธิบายเอง แล้วก็มีรายได้จากการท่องเที่ยวอันนั้นมากระจายกันในท้องถิ่นเอง
“แต่ที่ผ่านๆมา ผมยังไม่เห็นเป็นรูปแบบที่ชัดเจน บางแห่งเราเห็นในรูปแบบของการไปเที่ยวตลาดนัด เช่น ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรี อันนั้นเป็นการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งที่คนในท้องถิ่นนั้นได้เต็มที่ เอาสินค้าท้องถิ่นของคนในมาขายเขาก็มีความมั่นคงมากขึ้น แล้วก็มีหลายๆแห่งที่ทำแบบนี้ แต่ถ้าที่ ททท. หรือ ทางราชการไปจัดการมันจะเละ คือมันไม่ถูกจริตของคนในท้องถิ่นเขา
“พวกนี้มักจะใช้ความคิดเห็นของกลุ่มของตนเองของพวกราชการเองไปบังคับไปบีบเขา แต่ถ้าเป็นการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่นที่เป็นชุมชน เขาจะดูแลของเขาเอง เขาจะอธิบายมรดกวัฒนธรรมของเขาเอง ถ้าเป็นมาจากข้างนอกก็จะเป็นแบบวิชาการ เช่น กรมศิลป์มาอธิบายประวัติศาสตร์นู่นนี่มันก็ไม่เห็นคน คืออย่างน้อยการท่องเที่ยวท้องถิ่นหัวใจมันคือคนที่เข้าไปท่องเที่ยวท้องถิ่นมันไม่ได้เที่ยวเฉพาะโบราณสถานหรือธรรมชาติแวดล้อมแต่มันเห็นคน แต่ถ้าการท่องเที่ยวแบบ ททท.หรือทางราชการ มันไม่เห็นคนเห็นแต่ของเห็นแต่สถานที่”
สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนนั้น รศ.ศรีศักดิ์ อธิบายว่า ถ้าเราทำให้ดี พยายามกระตุ้นให้การท่องเที่ยวแบบชุมชนหรือท้องถิ่นนี้เป็นผลพลอยได้จากการสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของคนใน การทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านซึ่งเป็นคลังความรู้ที่ถ่ายทอดขึ้นเอง ฉะนั้นการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่นจะเป็นผลตามมา หมายถึงท้องถิ่นเขาสามารถจัดการได้ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจ ดังนั้นการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่นหรือแบบชุมชนมันจะเสริมให้คนในท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและเป็นตัวของตัวเอง
“ส่วนนักท่องเที่ยวที่ได้เข้าไปท่องเที่ยวไปสัมผัสกับชุมชนนั้นๆ เขาก็จะได้ความรู้จากคนในท้องถิ่น กระชับผสานความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงความหลากหลาย เราต้องทำความเข้าใจว่านักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวในท้องถิ่นเขาต้องการรู้จักความเป็นมนุษย์ เพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน แต่ท่องเที่ยวแบบ ททท.หรือของรัฐ เขาส่งคนไปโฮมสเตย์ไปกินของท้องถิ่นไปดูหิ่งห้อย มันไม่ได้เรื่องมันไปทำลายความเป็นมนุษย์ของท้องถิ่นเขา ไม่ควรจะนำคนต่างถิ่นแปลกหน้าเข้าไปอยู่ในบ้านเขา สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น จะนำไปสู่การกลายเป็นซ่องในบ้านได้ถ้าไม่ระวังให้ดี แล้วมันจะทำให้คนในท้องถิ่นแตกแยกมุ่งที่จะหาผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวของตนเองอย่างเดียว”
รศ.ศรีศักดิ์กล่าว ก่อนยกตัวอย่างการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นของชุมชนทำโดยชุมชนอย่างแท้จริง คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในรุ่นแรกๆที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้น ชาวบ้านเขาก็ได้จากคนที่มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์โดยตรง อีกที่ คือ บ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี ก็เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจช่วยกันอย่างสมานสามัคคี
“ผมไม่เชื่อรัฐบาลและไม่เชื่อ ททท. ผมเชื่อศักยภาพของภาคประชาชน การท่องเที่ยวที่ถูกต้องต้องเป็นการกระทำของประชาชน แล้วเราแค่เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้เขามากกว่าที่จะไปสอนหรือไปทำแทนเขา” รศ.ศรีศักดิ์กล่าว
ด้าน อ.ธันยพร ได้กล่าวถึงอนาคตของการท่องเที่ยวชุมชนว่า “ในอนาคตการท่องเที่ยวชุมชนจะต้องเป็นที่นิยมสูงขึ้นแน่นอน โดยเรามองจากหลายๆด้าน เช่น ภาครัฐให้ความสำคัญมาก ด้านการท่องเที่ยวก็มีจัดการท่องเที่ยวชุมชนขึ้นมาเป็นหนึ่ง กิจกรรมเลย ซึ่งเป็นการขับรับกับสภาวะการโลก เป็นการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ถามว่าชุมชนจะอยู่ได้ไหม ชุมชนก็ต้องดูแลพื้นที่ของตนองมากขึ้น ไม่ต้องการให้ใครมาเป็นคนทำการ เมื่อเขาเห็นตัวอย่างเขาอยากจะสามารถดูแลชุมชนตนเองได้ เขาก็อยากจะทำกันเพิ่มขึ้นซึ่งจะไม่ลดลง”
นอกจากนี้ อ.ธันยพร ยังได้แนะนำถึงการปฏิบัติตัวของนักท่องเที่ยวทิ้งท้ายไว้ว่า นักท่องเที่ยวจะต้องรู้ก่อนว่าเราจะไปเที่ยวแบบไหน แล้วต้องดูว่าทางชุมชนนั้นเขาจัดการยังไง บางทีทางชุมชนอาจจะมีแผนการเที่ยวหรือตารางการเที่ยวไว้อยู่แล้ว เราก็ควรปฏิบัติตามเพื่อให้เราได้เรียนรู้ในกระบวนการที่ชุมชนได้นำเสนอไม่ใช้เอาตัวเองเป็นตัวตั้งอยู่ฝ่ายเดียว ซึ่งการท่องเที่ยวแบบนี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ของความสะดวกสบาย หรือต้องการการพักผ่อนแต่อย่างเดียวก็ได้ ดังนั้นต้องเข้าใจความต้องการของตนเองและต้องทำความเข้าใจชุมชนที่จะไปเที่ยวก่อน ต้องสอบถามให้ละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ การเตรียมตัวก่อนที่จะไป ซึ่งการท่องเที่ยวชุมชนมักจะเป็นการท่องเที่ยวควบคู่กับการเรียนรู้วิถีชีวิตอย่างแท้จริง
โรงแรมสีเขียว ปั่นไฟ แลกอาหาร
เป็นที่รู้กันว่าธุรกิจห้างสรรพสินค้าและโรงแรมนั้นเป็นสองธุรกิจที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำสิ้นเปลืองที่สุด ดังนั้น คราวน์ พลาซ่า โฮเต็ล ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก จึงปิ๊งไอเดียเด็ดในการช่วยโลกประหยัดพลังงาน ด้วยการเสนอให้ผู้เข้าพักต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 10 วัตต์ต่อชั่วโมง โดยการปั่นจักรยานออกกำลังอยู่กับที่เพียง 15 นาที แลกกับคูปองอาหารมูลค่า 36 ดอลล่าร์ฯ โดยรถจักรยานออกกำลังกายดังกล่าวจะมีไอโฟนเชื่อมต่ออยู่ที่ด้ามจับเพื่อวัดระดับพลังงานที่ผลิตได้ โดยผู้ที่สามารถเข้าร่วมได้มีเฉพาะแขกที่เข้าพักเท่านั้น
นอกจากนี้ โรงแรมสีเขียวแห่งนี้ยังมีการผลิตพลังงานหมุนเวียนโดยการคิดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ด้านหน้าของอาคารไว้อีกด้วย และหากไอเดียนี้ประสบความสำเร็จ ทางโรงแรมก็จะขยายผลต่อไปนี้ยังคราวน์ พลาซ่า โฮเตล ในสหราชอาณาจักร
ที่มา http://campus.sanook.com/921199/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism)
บทความโดย : สาระดีดี.คอม
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2542) ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว
1. ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำคัญอยู่ 6 ประการดังนี้ คือ
1.1 เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง
1.2 เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว
1.3 เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
1.4 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม
1.5 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว
1.6 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
2. หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีหลักการดังนี้ (อุษาวดี พูลพิพัฒน์, 2545)
2.1 การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable )ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเน้นการทำธุรกิจในระยะยาว
2.2 การลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นและการลดของเสีย (Reducing Over-consumption and Waste) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยวด้วย
2.3 การรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ (Maintaining Diversity )สังคม และวัฒนธรรม จะช่วยขยายฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต
2.4 การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning) เข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนาท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยว
2.5 การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมในท้องถิ่น(Supporting Local Economic)โดยคำนึงถึงราคาและพัฒนาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย
2.6 เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น( Involving Local Communities) ในด้านการจัดการผลตอบแทนของประชาชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการจัดการการท่องเที่ยว
2.7 การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ประชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง (Consulting Stakeholders and the Public) เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมแก้ปัญหา
2.8 เป็นการฝึกอบรมบุคลากร (Training Staff )โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนแก่บุคลากรท้องถิ่นทุกๆระดับ เพื่อยกระดับการบริการการท่องเที่ยว
2.9 ข้อมูลข่าวสารที่สื่อให้กับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในการเคารพต่อธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว (Marketing Tourism Responsibly) อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
2.10 การวิจัยและติดตามผล (Undertaking Research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
3. ลักษณะของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ (อุษาวดี พูลพิพัฒน์ผล, 2545)
3.1 เป็นการท่องเที่ยวที่มีความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ความต่อเนื่องของทรัพยากรธรรมชาติ และความต่อเนื่องของวัฒนธรรมซึ่งจัดเป็นทรัพยากรหลักในการท่องเที่ยว และสามารถมอบประสบการณ์นันทนาการที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยว
3.2 เป็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (Quality) หมายถึงการเน้นคุณภาพของสามส่วนหลัก คือ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม คุณภาพของประสบการณ์ นันทนาการที่นักท่องเที่ยวได้รับ และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
3.3 เป็นการท่องเที่ยวที่มีความสมดุล (Balance) หมายถึงความสมดุลระหว่างความต้องการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและขีดความสามารถของทรัพยากร
ที่มาhttp://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=219:sustainable-tourism&catid=25:the-project&Itemid=72
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)