วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

7Greens ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย  ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก 7 Greens “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” คือ แนว คิดที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. เพื่อให้เกิดผลสำคัญ 2 ประการ คือ ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดที่พยายามให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทั้งผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยตรง สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนทั่วไป อันเชื่อว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับทัศนคติ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวคุณภาพ

แนวคิด 7 ประการ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
     Green Heart                เที่ยวด้วยใจคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     Green Logistics         เที่ยวใกล้-ไกล เลือกใช้ (พาหนะ) พลังงานสะอาด
     Green Attraction        จัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืน
     Green Activity             เลือก กิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     Green Community      เที่ยวอย่างรู้ค่า รักษาเอกลักษณ์ชุมชน
     Green Service             จัดการธุรกิจ ตระหนักคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     Green Plus                   จิตอาสา พาโลกสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

     เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552 ททท. ได้จัดการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ 21 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการนำไปสู่ความร่วมมือดำเนินโครงการปฏิญญารักษา สิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด 7 Greens ทั้งยังเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศได้รับทราบ ซึ่งภายหลังจากการลงนามบันทึกข้อตกลง ททท.ได้ประสานความร่วมมือเพื่อดำเนินกิจกรรมกับหน่วยงานดังกล่าวไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมโดย ททท. ส่วนกลางเอง และกิจกรรมที่ร่วมกับ ททท.สำนักงานภูมิภาคทั่วประเทศ

กิจกรรมที่ ททท. ร่วมจัดกับหน่วยงานที่ลงนามบันทึกข้อตกลง
     *    ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมส่งเสริมบริการที่พักสีเขียวและชุมชนสีเขียว ในพื้นที่อำเภอปาย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน
     *    ร่วมกับ มูลนิธิ Samui Green Island จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อร่วมลดภาวะโลกร้อนจากการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ประกอบ การธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะสมุย
     *    ร่วมกับ มูลนิธิใบไม้เขียว จัดกิจกรรมส่งเสริมบริการโรงแรมและสปาบนเกาะ สมุยให้ได้รับมาตรฐานใบไม้เขียว  ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและ พลังงาน มีการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ
     *    ร่วมกับ สถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย จัดอบรมบุคลากรของ ททท. รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่ 5 เมืองหลักด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา และนครราชสีมา และพื้นที่นำร่อง ได้แก่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นต้น

กิจกรรมที่ ททท. ส่วนกลางจัดขึ้น
     การจัดนิทรรศการเผยแพร่ “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด 7 Greens (ภาษาไทย-อังกฤษ) เพื่อใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่ออุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และแนวทางการลดภาวะโลกร้อนตามแนวคิด 7 Greens อันจะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น งาน Samui Global Mala เกาะสมุย, งานสมัชชาคุณธรรม อิมแพค เมืองทองธานี, งาน Green Fair’09 ณ อุทยานเบญจสิริ, โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ, Eco & Adventure Mart เชียงใหม่, ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา เป็นต้น

กิจกรรมที่ร่วมจัดกับ ททท. สำนักงานภูมิภาคทั่วประเทศ
     *   โครงการปั่นสองล้อเสาะผ่อธรรมชาติ เมืองปราชญ์ลับแล อุตรดิตถ์
     *   โครงการคาราวานสะพาย เป้ หิ้วกล้อง ท่องสองบุรี จ.ลพบุรี-สระบุรี
     *   โครงการหน้าบ้านน่ามอง ล่องมหานที ชุบชีวีเจ้าพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
     *   โครงการทัศนะครื้นเครง ร่วมบรรเลงรักษ์ป่าไม้ จ.นครราชสีมา
     *   โครงการสองล้อ สองน่อง ท่องอำนาจ จ.อำนาจเจริญ
     *   โครงการเชียงคานสีเขียว เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน จ.เลย
     *   โครงการเมล็ดพันธุ์ใหม่ ท่องเที่ยวสดใส หัวใจสีเขียว จ.ตราด
     *   โครงการปลูกบ้านให้ปลา คืนเวลาให้ทะเล เกาะแสมสาร จ.ชลบุรี
     *   โครงการท่องเที่ยวสดใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม Virgin Hitz Fan Club Party  ตอน ฮิตซ์ จังฮู้  เมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช

ในเร็วๆ นี้ ททท. กำลังจะมีโครงการนำร่องอีก 5 เส้นทางด้วยกัน คือ
     *   ทริปสีเขียว เที่ยวปักษ์ใต้ จ.นครศรีธรรมราช เส้นทางที่ทุกคนจะเต็มอิ่มกับทั้งป่าไม้และทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยที่ยังคง ความสดและสมบูรณ์ไว้ได้อย่างน่าชื่นชม อาทิ สัมผัสทะเลหมอก ที่เขาเหล็ก บ้านกรุงชิง, “ถอดรหัสป่า” ตามเส้นทางอุทยานเขาหลวงสู่น้ำตกกรุงชิง, ชมบ่อน้ำจืดกลางทะเลตามตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ที่เกาะนุ้ยนอก และถ้าโชคดีอาจได้เห็นโลมาสีชมพู สัตว์สัญลักษณ์แห่งทะเลขนอม รวมถึงสมบัติทางวัฒนธรรมตามวิถีคนเมืองคอน ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนังตะลุง สุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติ, เยี่ยมชุมชนผ้ามัดย้อมบาติกที่บ้านคีรีวง, นั่งรถรางชมเมืองลิกอร์ (หนึ่งในชื่อที่ใช้เรียกเมืองนครศรีธรรมราช)
     *   ทริปสีเขียว เที่ยวทั่วน่าน แหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ เป็นพิเศษ โดดเด่นด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีความแปลกตา มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อีกทั้งยังสามารถสืบทอดวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ได้อย่างน่าประทับใจ ทริ ปสีเขียว เที่ยวตะวันออก ชลบุรี ร่วมกันคืนชีวิตให้ป่าและอนุรักษ์พันธุ์ชะนีหายาก ตื่นตากับนานาพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าในมุมมองใหม่ๆ บนยอดไม้สูงที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว  ระยอง เยี่ยมชมสวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จันทบุรี เข้าชมสถานีพัฒนา ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) ตราด สัมผัสวิถีชีวิตแบบพอเพียงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านสลักคอก เกาะช้าง และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตำบลห้วยแร้ง
     *   ทริปสีเขียว เที่ยวภาคกลาง เพชรบุรี เยี่ยมชมโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ  พร้อมทั้งศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน เพลิดเพลินกับการดูนก ซึ่งที่นี่คือแหล่งดูนกสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ, ศึกษาการใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ชุมพร ตื่นตากับแนวสันทรายบางเบิด ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ออกแบบโดยน้ำและลมกินเวลานานนับพันๆ ปี  สมุทรสงคราม เที่ยวตลาดน้ำยาม เย็นอัมพวา ทำความรู้จักกับวิสาหกิจชุมชนชมรมการท่อง เที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคลน
     *   ทริปสีเขียว เที่ยวอีสาน อุดรธานี ศึกษาอารยธรรมโบราณ ผ่านพิพิธภัณฑ์มรดกโลกบ้านเชียง, โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูฝอยลม ซึ่งประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี, อุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์   กาฬสินธุ์  พิพิธภัณฑ์สิรินธร รวมถึงแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว สกลนคร สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและเป็นที่ทัศนศึกษา ของประชาชน อาทิ อุทยานแห่งชาติภูพาน เข้าถึงวิถีความเป็นอยู่ของท้องถิ่น ชมการย้อมผ้าด้วยโคลน เอกลักษณ์ท้องถิ่นที่ไม่เหมือนที่ใด ณ บ้านพรรณานิคม มหาสารคาม นมัสการพระธาตุนาดูน พุทธมณทลอีสานมีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาตร์ และโบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ชมและศึกษาพรรณไม้ สมุนไพรอีสาน ที่สถานีวิจัยวลัยรุกขเวช นครราชสีมา เยี่ยมชมสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่น TTA 2008 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีการจัดกิจกรรมเดินป่า ส่องสัตว์ ส่องแมลง ดูดาว ไปจนถึงการนวดสมุนไพร เยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สมบัติทางธรรมชาติที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “มรดกโลก”

     ททท. เชื่อมั่นว่าแนวคิด 7 Greens “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ภายใต้โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จะได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาคอุตสาหกรรมท่อง เที่ยว สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง

ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.activity.sanook.com/7greens


ที่มา http://travel.mthai.com/news/5689.html


โรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติ

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=aBZyeJ-V1uc
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=vaC5JJrtHF8

Agoda.co.th ประกาศ 10 อันดับโรงแรมบูติคอนุรักษ์ธรรมชาติในเอเชียแปซิฟิกปี 2553


Agoda.co.th บริษัทผู้ให้บริการเว็บไซต์สำรองห้องพักในโรงแรมแบบออนไลน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Priceline.com ประกาศ 10 อันดับโรงแรมบูติคอนุรักษ์ธรรมชาติในเอเชียแปซิฟิกปี 2553

ในปีพ.ศ. 2550 อโกด้าได้เผยรายชื่อโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อประชาสัมพันธ์โรงแรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โรงแรมที่จะได้รับการจัดอันดับนั้น จะต้องเป็นโรงแรมที่มีมาตรการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เชิงรุงอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น โปปะ เม้าท์เท่น รีสอร์ทในประเทศพม่า ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้และรีไซเคิลของเสีย หรือ รีสอร์ทหรูอามาร์วิลาสในเมืองอัครา ซึ่งวางรากฐานการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยใช้เทคนิคเดียวกับหลายศตวรรษก่อน เพื่อรักษาความเย็นไว้ภายในตัวอาคาร

ตั้งแต่มีการเริ่มต้นจัดอันดับในครั้งแรก การรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนก็ถูกนำมาปฏิบัติกันมากขึ้น โรงแรมส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเริ่มสนับสนุนให้แขกที่มาพักเก็บผ้าเช็ดตัวไว้ใช้ซ้ำโดยที่ไม่ต้องส่งซักทุกวัน หลายๆ โรงแรมก็เปลี่ยนมาใช้บัตรเพื่อเปิดระบบไฟฟ้าในห้องพัก และใช้หลอดประหยัดไฟในพื้นที่ส่วนกลาง โรงแรมจำนวนมากหันมาใช้กระดาษรีไซเคิล จำกัดการใช้พลาสติก ใช้ฝักบัวประหยัดน้ำ และใช้โปรแกรมชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

ความก้าวหน้าของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับขึ้นไปอีก โรงแรมและรีสอร์ทที่อยู่ในการจัดอันดับปีนี้แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา โดยการดำเนินการในแต่ละวันต้องแน่ใจว่าได้อนุรักษ์และป้องกันในทุกๆ ด้านทางภูมิศาสตร์ รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี และชุมชน
นิฮิวาตู รีสอร์ท บนเกาะซัมบ้าประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในรีสอร์ทที่ติดอันดับโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติของอโกด้าปีพ.ศ. 2550 จากความพยายามที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวซัมบ้า จึงทำให้ติดอันดับอีกครั้งในปีนี้ จากความสำเร็จที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิซัมบ้าเพื่อช่วยขจัดความยากจนบนเกาะ

อีกชื่อหนึ่งที่คุ้นเคยกันดีในการจัดอันดับ คือ ซิกซ์เซ้นส์ ปี 2550 ซิกซ์เซ้นส์ เอวาซอน หัวหิน ได้รับการจัดอันดับเนื่องจากมีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวและจ้างงานคนท้องถิ่นผู้ด้อยโอกาส ในปี 2552 โซเนวา ฟูชิ ในมัลดีฟส์ ติดอันดับจากโครงการปลูกต้นไม้และโปรแกรมชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และในปีนี้ โซเนวาคีรี เกาะกูด ติดอันดับจากการพัฒนาให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นด้วยการออกแบบ “อีโค วิลล่า” ต้นแบบบ้านพักอนุรักษ์ธรรมชาติปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น โซเนวาคีรียังได้บริจาคอุปกรณ์สนามเด็กเล่นให้กับโรงเรียนท้องถิ่นและแบ่งรายได้ร้อยละ 1 ให้กับกองทุนสวัสดิการสังคม

รายชื่อโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติปี 2553 จากอโกด้าในปีนี้ ได้ตระหนักถึงโรงแรมที่มีวิธีปฏิบัติในการอนุรักษ์เหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โรงแรมที่อยู่ในการจัดอันดับปีนี้ไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้นแต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของชุมชนพื้นเมือง

โรเบิร์ต โรเซนสไตน์ ประธานบริษัทอโกด้ากล่าวว่า “สิ่งที่ดีที่สุดในการแผยแพร่รายชื่อโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติประจำปีของเราก็คือได้เห็นแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สิ่งที่เริ่มเห็นกันมากที่สุดก็คือ โรงแรมใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและขยายวงกว้างออกไปจนเกิดผลประโยชน์กับทั้งชุมชน เราก็หวังว่ารายชื่อนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ ต่อโรงแรมที่จะเพิ่มเข้ามาในปีถัดไป เช่นเดียวกับการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการยอมรับแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว”

โรงแรมใน 10 อันดับโรงแรมบูติกอนุรักษ์ธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากอโกด้าปี 2553 นี้ได้รับการชมเชยทั้งในด้านความมุ่งมั่นต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและความพยายามที่จะรักษาวัฒนธรรมของโลก

10 อันดับโรงแรมบูติกอนุรักษ์ธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปี 2553 จาก Agoda.co.th

1. อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา, กาฟู อะลิฟู อะทอล, มัลดีฟส์ (Alila Villas Hadahaa, Gaafu Alifu Atoll, Maldives)
ถ้าพูดในด้านสิ่งแวดล้อม อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา ถือเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกรีสอร์ท ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง ขั้นตอนการออกแบบ ระบบบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแนวคิดคาร์บอนสมดุล การออกแบบวิลล่าทั้งบนน้ำและบนพื้นดินของรีสอร์ทหรูแห่งนี้สนับสนุนการท่องเที่ยวยั่งยืนด้วยการรองรับน้ำฝนและการระบายอากาศตามธรรมชาติเพื่อให้เกิดความเย็นภายใน และสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องก็คือการใช้กระดาษรีไซเคิล จัดหาการผลิตในท้องถิ่น และมีการผลิตน้ำดื่มแบบรีเวิร์สออสโมซิสสำหรับพนักงาน ในระดับภูมิศาสตร์ อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้แขกที่มาพักได้มีโอกาสสำรวจและเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเยี่ยมชมชุมชนพื้นเมือง และนำเที่ยวเกาะโดยนักชีววิทยาของรีสอร์ท

2. โซเนวา คีรี, เกาะกูด, ประเทศไทย (Soneva Kiri, Koh Kood, Thailand)
หนึ่งในรีสอร์ทเครือซิกซ์เซ้นส์ โซเนวาคีรี ตั้งอยู่บนเกาะกูดจังหวัดตราด การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานของรีสอร์ทหรูแห่งนี้ รีสอร์ทถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุบนเกาะเกือบทั้งหมด (ไม้ไผ่, หินทราย, ขอนไม้, โคลนอิฐ, และประติมากรรมดินเผา) และของบางส่วนทำขึ้นโดยช่างฝีมือชาวกะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนั้นโซเนวาคีรียังมีความโดดเด่นแบบ อีโค-วิลล่า หลังคาประดับด้วยเฟิร์นและฉากกันอาบน้ำทำจากขวดโซดารีไซเคิล และยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้แขกที่มาพักประทับใจกับสถานที่ยิ่งขึ้นด้วยการรับประทานอาหารบนต้นไม้ เรียนดูดาว เยี่ยมชมฟาร์มผึ้ง ฟาร์มไข่มุก หรือเรียนทำสวน

3. กายานา อีโค รีสอร์ท, มาเลเซีย (Gayana Eco Resort, Malaysia)
ตั้งอยู่บนเกาะปูเลากายา ริมชายฝั่งโกตากินะบะลู กายานา อีโค รีสอร์ท อยู่ท่ามกลางป่าโกงกางและแนวปะการัง แนวปะการังและปลาเป็นจุดโฟกัสหลักของศูนย์การวิจัยของรีสอร์ท ซึ่งจัดให้มีโปรแกรมฟื้นฟูแนวปะการังโดยให้แขกที่มาพักได้มีส่วนร่วมในการปลูกปะการังด้วย นอกจากนั้นศูนย์การวิจัยยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถชมม้าน้ำ ปลาดาว และหอยกาบยักษ์ได้อย่างใกล้ชิด หรือเดินสำรวจป่าพร้อมไกด์นำทางซึ่งจะแนะนำให้แขกที่มาพักได้รู้จักกับสัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าบนเกาะนี้ (ทางรีสอร์ทอ้างว่ามีสัตว์ป่าถึง 40 ชนิดที่อาศัยอยู่ที่นี่) กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์รวมไปถึงการพายเรือคะยักรอบอ่าว ให้อาหารปลา ดำน้ำชมปะการัง และทัศนศึกษาหาดฮอร์นบิล

4. ตาฮิ, โอฮัว, นิวซีแลนด์ (Tahi, Ohua, New Zealand)
ครอบคลุมพื้นที่ 740 เอเคอร์ซึ่งประกอบไปด้วยฟาร์ม ป่า ป่าชายเลน และชายหาดสำหรับเล่นวินด์เซิร์ฟ ไม่ยากเลยที่จะเห็นแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังความปรารถนาของ ตาฮิ รีสอร์ทในการรักษาสิ่งแวดล้อม รีสอร์ทนี้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองโอ๊คแลนด์ 2.5 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยบังกะโลหรูสองหลัง หลังหนึ่งเหมาะสำหรับคู่รักและอีกหลังหนึ่งเหมาะสำหรับครอบครัว แต่ละหลังได้รับการปรับปรุงให้หรูหราตามมาตรฐานโดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใช้น้ำฝนมาทำน้ำดื่ม ปลูกผักปลอดสารพิษภายในรีสอร์ท และยังมีฟาร์มผึ้งซึ่งผลิตน้ำผึ้งมานูก้าเพื่อสุขภาพ ด้านความสมานสามัคคีกับชนเผ่าพื้นเมืองเมารีนั้น ผู้บริหารของรีสอร์ทมองว่าตนเองเป็นเหมือนผู้ดูแลรักษามากกว่าที่จะเป็นเจ้าของสถานที่ และสละเวลาในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ ใช้วัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และปกปักรักษาพืชและสัตว์ในบริเวณนั้น

5. บันจาร์ โทลา, อินเดีย (Banjaar Tola, India)
โรงแรมสไตล์ซาฟารีในเครือทัช โฮเต็ลส์ ตั้งอยู่ใจกลางอุทยานแห่งชาติกัณหา มองเห็นทิวทัศน์ของป่าไม้ไผ่และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือนานาชนิด ที่พักของ บันจาร์ โทลา ประกอบไปด้วยเต๊นท์หรูสไตล์ซาฟารี 18 หลัง สร้างขึ้นจากวัสดุท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่และหวาย ตกแต่งด้วยศิลปะของชนพื้นเมืองบาสตาร์และโดกรา บันจาร์ โทลามีวิถีปฏิบัติแบบ “เอิร์ธ” (EARTH - Environment Awareness and Renewal at Taj Hotels) ซึ่งเป็นแนวคิดริเริ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเครือทัชโฮเต็ลส์โดยการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและการนำกลับมาใช้ใหม่ และได้รับการรับรองจากโครงการเอิร์ธเช็คซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังโครงการลูกโลกสีเขียว ทุกโรงแรมและรีสอร์ทในเครือมีวิถีปฏิบัติแบบ “เอิร์ธ” เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและความยั่งยืน นอกจากนั้นยังมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวอินเดียพื้นเมืองให้ดีขึ้นโดยจัดให้มีการศึกษา อบรม และจ้างงาน

6. โรงแรมยูอาร์บีเอ็น, เซี่ยงไฮ้, จีน (URBN hotel, Shanghai, China)
ตั้งอยู่ในโรงงานที่ถูกดัดแปลงขึ้นในพื้นที่สัมปทานฝรั่งเศสของเซี่ยงไฮ้ การปรับปรุงใหม่ใช้เฉพาะวัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โรงแรมสไตล์มินิมอล URBN Shanghai แห่งนี้เป็นโรงแรมคาร์บอนสมดุลแห่งแรกในประเทศจีน ความยั่งยืนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ URBN ซึ่งใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสพความสำเร็จในตามแนวคิดคาร์บอนสมดุล โดยการเข้าร่วมโครงการล้านต้นกล้า (Million Tree Project) ซึ่งเป็นโครงการที่ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการจัดซื้อต้นกล้าที่ปลูกขึ้นในทะเลทรายคุหลุนของมองโกเลีย แขกที่มาพักจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมในพิธีชงชาแบบดั้งเดิม เรียนการประดิษฐ์ตัวอักษร และรำไทเก๊กร่วมกับคนท้องถิ่น

7. บาเมอร์รู เพลนส์, ออสเตรเลีย (Bamurru Plains, Australia)
ตั้งอยู่บริเวณป่าชายเลนในอุทยานแห่งชาติคาคาดู บาเมอร์รู เพลนส์ เป็นส่วนหนึ่งของฟาร์มเลี้ยงควายและปศุสัตว์เอกชนบนพื้นที่ 75,000 เอเคอร์ บูติกรีสอร์ทแห่งนี้อนุรักษ์นิยมถึงขั้นไม่มีโทรทัศน์หรือโทรศัพท์ในบังกะโล (มีเพียงแค่ 3 หลังเท่านั้นที่มีเครื่องปรับอากาศ โดยต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) พลังงานที่ใช้ในรีสอร์ทร้อยละ 75 มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ กรองน้ำบาดาลมาเป็นน้ำดื่ม ขวดต่างๆ ถูกนำมารีไซเคิล และสบู่ก็ปลอดสารเคมี สัตว์ป่าออสเตรเลียและทิวทัศน์ทางภูมิศาสตร์เป็นเหมือนภาพพื้นหลังของบาเมอร์รู แขกที่มาพักสามารถออกทัวร์เที่ยวชมศิลปะหินในคาคาดูและอาร์นเฮ็มแลนด์เพื่อชมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง

8. โทปาส อีโคลอดจ์, ซาปา, เวียดนาม (Topas Ecolodge, Sapa Valley, Vietnam)
เป็นรีสอร์ที่มีชีวิตชีวาตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหว่างเหลียน แขกของโทปาส อีโคลอดจ์จะได้ชมวิวขุนเขาหว่างเหลียนเซินหรือ “ตันกีนีส แอลป์ส” อันเขียวชอุ่ม ชมนาขั้นบันได และหมู่บ้านในหมอก รีสอร์ทใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับวิลล่า 25 หลัง บำบัดน้ำเสีย และใช้วัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังรักษาระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในระดับต่ำ โทปาส อีโคลอดจ์มีส่วนช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นด้วยการจ้างงานชาวเผ่าพื้นเมืองในซาปา เช่น ม้ง, ซ-หยาวแดง, เตย, และเส่ย กิจกรรมต่างๆ ที่มีในรีสอร์ทก็คือเดินชมหมู่บ้านรอบๆ, เดินป่า, ปั่นจักรยานเสือภูเขา, และชมชีวิตสัตว์ป่า นอกจากนั้นอุทยานแห่งชาตินี้ยังเป็นเสมือนบ้านของนกกว่าร้อยสายพันธุ์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

9. นิฮิวาตู รีสอร์ท, ซัมบ้า, อินโดนีเซีย (Nihiwatu Resort, Sumba Indonesia)
ตั้งอยู่บนชายหาดทอดยาว 2.5 กิโลเมตรบนเกาะซัมบ้า บูติกรีสอร์ทแห่งนี้ได้รับรางวัลระดับนานาชาติด้านความพยายามอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชน และรีสอร์ทแห่งก็เป็นหนึ่งใน 10 โรงแรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอโกด้าในปี 2550 ด้วย บังกะโลทั้ง 13 หลังถูกสร้างขึ้นจากฝีมือชาวอินโดนีเซียและใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และมีการจ้างงานชาวซัมบ้าทำงานที่รีสอร์ทถึงร้อยละ 95 ของพนักงานทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2544 เจ้าของรีสอร์ทได้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิซัมบ้าขึ้นเพื่อขจัดความยากจนในชุมชนชาวซัมบ้า โครงการของมูลนิธิรวมไปถึงการสร้างคลินิคทางการแพทย์ จัดหาน้ำและอุปกรณ์การเรียนให้กับโรงเรียนต่างๆ โครงการล่าสุดคือการเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊สแทนเตาฝืนแบบดั้งเดิมเพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากการสูดดมควันไฟและรักษาป่าไม้ผลัดใบของซัมบ้า

10. ไซโลโซ บีช รีสอร์ท, สิงคโปร์ (Siloso Beach Resort, Singapore)
ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้บนเกาะเซ็นโตซ่า ไซโลโซจ้างพนักงานที่มีจรรยาบรรณสีเขียวเพื่อลดการทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รีสอร์ทถูกสร้างขึ้นโดยให้มีผลกระทบต่อพืชน้อยที่สุด, ใช้หลอดไฟ CFL, รีไซเคิลของเสีย, และนำน้ำจากเครื่องปรับอากาศมาใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น การออกแบบรีสอร์ทก็มีส่วนช่วยให้เกิดความยั่งยืน เช่น สวนบนหลังคาทำให้เกิดความเย็นภายในห้องพัก และวิลล่าบางหลังก็สร้างไว้รอบๆ ต้นไม้ ด้วยความที่ไซโลโซเป็นรีสอร์ทสีเขียว จึงทำให้มีสัตว์ป่านานาชนิดรวมถึงกบ กิ้งก่า และนก อาศัยอยู่มากมาย นอกจากนั้นไซโลโซยังสนับสนุนกิจกรรมสีเขียวต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น การประกวดมิสเอิร์ธและสิงคโปร์จีวัน


ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290413374&grpid=no&catid=09

ไปเที่ยวกัน

http://www.youtube.com/watch?v=J3XukbmLQ6o&feature=related

ท่องเที่ยวไทย

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=FUSuhUFEEhw&feature=related

เที่ยวอย่างไรให้สร้างสรรค์

องค์ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ให้นิยามของการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ว่า เป็นการ ท่องเที่ยวที่มีจุดประสงค์สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาชุมชนที่เกี่ยว ข้องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินชีวิตของชุมชน โดยจัดกิจกรรม การท่องเที่ยวอย่างกลมกลืนและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีต่าง ๆ ในชุมชน ในเชิงของการเรียนรู้และการทดลอง เพื่อให้ ได้มาซึ่งประสบการณ์จากสิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่จริงในชุมชน นอกจากนั้น ชุมชนจะต้องสามารถใช้การจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือใน การรักษาความสมดุลระหว่าง
(๑) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชนและ
(๒) ชุมชนจะได้รับผลประโยชน์ ทั้งในรูปแบบที่เป็นผลประโยชน์ตอบ แทนอิงตามระบอบทุนนิยมและในรูปแบบความยั่งยืนของการพัฒนาใน ชุมชน
ยูเนสโกยังได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวสร้างสรรค์รวมถึง การจัดให้เกิดกิจกรรมต่างๆ โดยเน้นการเรียนรู้ การศึกษาจากประสบ การณ์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นักท่องเที่ยวกับชุมชน การท่องเที่ยวสร้างสรรค์จะเน้นความสัมพันธ์ระหว่าง นักท่องเที่ยวและผู้คนในชุมชนนั้นๆ โดยมีเป้าหมายว่านักท่องเที่ยวใน ลักษณะของการท่องเที่ยวสร้างสรรค์จะเป็นนักท่องเที่ยวที่ไม่ใช่เป็นเพียง นักท่องเที่ยว (Tourist) แต่จะเป็นสมาชิกของชุมชนที่ได้มีโอกาสเข้าไป ใช้ชีวิตร่วมกัน (Citizen of Community
การท่องเที่ยวสร้างสรรค์นับได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่เมื่อ อ้างอิงจากความหมายของการท่องเที่ยวในรูปแบบที่มีมาก่อน แต่เดิมการ ท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อเป็นการใช้เวลาในการพักผ่อนหย่อนใจ แสวงหาความสุขและความเพลิดเพลินที่ได้รับจากการท่องเที่ยวในสถาน ที่ท่องเที่ยวนั้นๆ แม้ต่อมาการท่องเที่ยวได้เพิ่มรูปแบบให้มีการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์หรือเชิงวัฒนธรรม โดยจะเน้นรูปแบบของการท่องเที่ยว ไปยังพิพิธภัณฑ์ หรือโบราณสถานต่างๆ แต่ก็ยังไม่มีมิติของการพัฒนาและ สร้างความสมดุลในชุมชนโดยการใช้การท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์
ที่มา http://www.creativetourism.com/c_main/about

ในภาวะปัจจุบันที่กระแสของโลกร้อนนั้นมีการรณนรงค์ให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนด้วยมาตรการต่างๆ ตลอดจนการออกกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ออกมาควบคุมการดำเนินธุรกิจของกิจการต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์และหลักการที่ทางราชการกำหนด ตลอดจนการส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆ ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งรวมถึงธุรกิจโรงแรมต่างๆ ด้วย
ในการดำเนินธุรกิจโรงแรมให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น กรมควบคุมมลพิษ ได้กำหนดกฎเกณฑ์ในด้านที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกรม เพื่อใช้เป็นเกณฑ์และหลักกา ให้ธุรกิจโรงแรมต่างๆ ปฏิบัติตามในทิศทางและเป็นมาตรฐานเดียวกันดังนี้
เกณฑ์ข้อกําหนดสําหรับโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
■มีระบบบําบัดน้ำเสียทีบําบัดได้ตามมาตรฐาน และ/หรือ ไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณ
■ไม่อยู่ระหว่างการถูกกล่าวโทษหรือถูกตรวจสอบเรื่องร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
■ผ่านเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมโดยได้ คะแนนรวมไม่ ต่ำกว่ า 60 เปอร์เซนต์
เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม
1. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
■การกําหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นลายลักษณ์อักษร
■มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. การจัดการน้ำเสีย
■มีวิธีการดําเนินงานระบบบําบัดน้ำเสีย
■มีผลการวิเคราะห์คุณภาพนํ้าทิ้ง ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา
■มีการเก็บรวบรวมและส่งกําจัดขยะอย่างเหมาะสม
3. ความปลอดภัย
■การจัดการเชื้อเพลิง ก๊าซและสารพิษ เป็นไปตามกฎหมาย
■มีอุปกรณ์เตือนภัยและดับเพลิงติดตั้งตามจุดต่างๆ ทางออกฉุกเฉิ น/ทางหนีไฟ
4. การจัดการขยะ
■มีโครงการลดการเกิ ดของเสีย
■มีการแยกประเภทขยะมูลฝอย
■มีการเก็บรวบรวมและส่งกําจัดขยะอย่างเหมาะสม
5. การใช้พลังงานและทรัพยากร
■มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ภายในโรงแรมเรื่องการประหยัดนํ้า
■มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ภายในโรงแรมเรื่องการประหยัดพลังงา
■มีการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศบริเวณพื้นที่ส่วนกลางไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
■ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน
6. อากาศและเสียง
■มีการควบคุม /จัดการเขม่าควันที่เกิ ดจาก Boiler
■มีการควบคุมเสียงดังรบกวน
7. ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์
■มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ลงดิน
■ส่งเสริมการปลูฏพืชท้องถิ่น
■ไม่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์
8. ผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
■มีการดําเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนในพื้นที่
■มีที่ว่างโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร
หลักฐานเพื่อแสดงว่าเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

■สําเนาผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี
■นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
■แผนปฏิบัติการในการลดการเกิดของเสีย
■ผังพื้นที่สีเขียว
■เอกสาร/ภาพถ่าย การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่โรงแรมปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ที่มา http://www.ihotelguru.com/index.php?option=com_k2&view=item&id=39:environmental-friendly-hotels