วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Motion graphic - Thailand travel


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=mWWsO1tcv7g&feature=related

เที่ยวเมืองไทยยั่งยืน


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=ebHsefzFnq8&feature=related

เที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืน


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=C1hr-YghHfQ&feature=related

เชิญเที่ยวงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์


นายกเทศมนตรี เมืองปากช่อง  ผนึกกำลังกับกลุ่มไม้ขีดไฟ  ขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์  เพื่อเป็นอำเภอต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์

กลุ่มไม้ขีดไฟ   และเทศบาลเมืองปากช่อง  ร่วมกับโครงการพื้นที่นี้ดีจัง โดยการสนับสนุน จากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็ก และเยาวชน(สสย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้ดำเนินกิจกรรม  “เดิ่นนี้ดีจัง”เพื่อเด็กและครอบครัว  เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กและครอบครัว  ได้ใช้เวลาร่วมกัน  ผ่านกิจกรรมการเล่นอย่างมีส่วนร่วม


นายศรัทธา  ปลื้มสูงเนิน ผู้ประสานงานกลุ่มไม้ขีดไฟ  กล่าวว่า
“เราต้องการให้สังคมเห็นตัวอย่างของพื้นที่ ที่ “ให้” เด็กบ้าง  และเกิดแรงบันดาลใจที่ช่วยกันสร้างให้เกิดพื้นที่ดีดีในหลายๆพื้นที่ต่อไป เพราะพื้นที่สร้างสรรค์ คือ พื้นที่ ให้เด็ก ไม่ใช่พื้นที่ ห้ามเด็ก”
ในงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์  เดิ่นนี้ดีจัง   เพื่อเด็กและครอบครัว   เปิดโอกาสให้เด็ก ได้สนุกสนาน  ให้ได้เรียนรู้  ให้ได้มีส่วนร่วม  ให้ได้ลงมือทำกับกิจกรรม มากมาย ในงาน  เช่น งานศิลปะ  ร้อยลูกปัด  ของเล่นทำเอง พร้อมนำผลงานของตัวเองกลับบ้านได้เลย  และให้ได้อิ่มอร่อยกับขนมพื้นบ้าน  อาหารท้องถิ่น  พร้อมชมการแสดง  “หนังบักตื้อ” หนังตะลุงอีสาน  จากจังหวัดมหาสารคาม  ฟังดนตรีสบายสไตล์ครอบครัว กับ วงโฮปแฟมิลี่          

งานนี้จัดขึ้น  ในวันเสาร์ที่  18  กุมภาพันธ์  2555     เวลา  16.30  น.  เป็นต้นไป    ณ สวนสาธารณะเขาแคน   ตลาดปากช่อง  อ. ปากช่อง  นครราชสีมา  เพื่อร่วมมือร่วมใจ  ให้อำเภอปากช่อง  เป็นต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก และครอบครัว  1 ชุมชน  1  พื้นที่สร้างสรรค์  ทั่วประเทศ”
ที่มา http://www.fai-dee.com/index.php/section-blog/28-current-users/13-2012-02-14-10-23-47.html

เที่ยวเดือนตุลาอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน


เดือนตุลาเวียนมา ทำไมฝนและน้ำท่วมยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ เศร้าใจอ่ะครับ ในฐานะนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์ อยากขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันให้ความช่วยเหลือพี่น้องในประเทศเราที่ลำบากจากภัยน้ำท่วมกันด้วยนะครับ เราเที่ยวได้ประสบการณ์ ความรู้ และความทรงจำดีๆจากที่ต่างๆแล้ว ถึงเวลาลำบาก อย่าลืมให้กลับคืนแก่สังคมและชุมชน เพื่อฟื้นฟูแหล่งที่อยู่และแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้อื่นได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์ที่ดีอย่างที่เราเคยได้กันด้วยน้อ เรียงหน้ามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า คราวที่แล้วได้ไปดูวิถีชีวิตชาวบ้านริมน้ำกับโฮมสเตย์เก๋เริ่ดกันมาแล้ว ตุลานี้ ลูกหลานเราปิดเทอม ผมขอแนะนำที่เที่ยวสร้างสรรค์เอาใจกระทรวงวัฒนธรรมกันเบาๆ กับธีม “ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน” ครับผม

ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนเบาๆ ว่าธีมของเราเดือนนี้นี่มันอะไรยังไง สำหรับการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วใช่ป่ะครับ ว่าคือการที่เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน จุดนี้ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็คือจะไฮไลท์วัฒนธรรมที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่งที่เราอาจจะยังไม่รู้จัก หรือยังไม่เป็นที่แพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวกันมากนัก เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ขาเที่ยวสร้างสรรค์ของเราได้เดินทางไปเสาะแสวงหาวัฒนธรรมความเป็นไทยเอาใจคุณทวด วัฒนธรรมท้องถิ่นหลายที่อาจเก๋ไก๋ทำเราเซอร์ไพรส์ขากรรไกรค้าง จุดนี้ต้องลองไปดู สำหรับเดือนนี้ มีทีเด็ดมาแนะนำสองที่ถ้วนครับ

กระแสรอยไหมเค้าแรงว่าไม่ได้ จริงๆก็ไม่ใช่คนตามกระแสอะไร แต่เห็นว่ามันเกี่ยวกันเฉยๆ ก็เลยอยากจะเดินตามรอยไหม และนำเสนอ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นที่แรก เชียงใหม่ถือเป็นหนึ่งจัดหวัดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสูงมากครับ ทั้งในสายตานักท่องเที่ยว และจากมุมมองของคนไทยด้วยกันเอง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่ ภายในบ้านไม้สักทรงไทยที่แสดงออกถึงสถาปัตยกรรมล้านนาอันละเอียดอ่อนนั้น มีการรวบรวมงานศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมของเชียงใหม่เอาไว้เป็นจำนวนมาก ไฮไลท์จะเป็นผ้าสบันงา (ตัดภาพไปยังชุดเลื่อมๆของชาย ชาตโยดม) และของที่ระลึกน่ารักให้เราซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรืออยากเข้าไปมีส่วนร่วมดูวิถีชีวิตชาวเขาเผ่าต่างๆก็ทำได้ หนึ่งในกิจกกรมเก๋ที่เราสามารถทดลองแล้วจินตนาการว่าเราเป็นนางเอกรอยไหม (ตัดภาพไปยังแอ๊ฟ ทักษอร) ก็คือการทอผ้าพื้นเมืองของชาวเขาครับ ตกเย็นก็นั่งรับประทานขันโตกอาหารพื้นเมืองชาวเหนือรสชาติเป็นเอกลักษณ์ และชมการแสดงฟ้อนพื้นเมืองชาวเชียงใหม่ หรือการแสดงจากชาวเขาเผ่าต่างๆแล้วแต่วันไหนจะไปป๊ะก๊ะเผ่าไหน บ้านไหนมีลูกสาวที่ทำท่าจะเปรี้ยวจนน้ำส้มอสร.ค้อนควรพาไปเที่ยวเชียงใหม่ วัฒนธรรมเชื่องช้าอ่อนช้อยของชาวเหนือจะซึมเข้ากระดูกจนน้ำส้มอสร.กลายเป็นแม่หญิงได้จนน่าตกใจ

ลงมาที่จังหวัดน่านครับ อยากจะพรีเซนท์ด้วยความเก๋จัดและรอบด้านของวัฒนธรรมจังหวัดน่านที่ถูกเอามารวมกันในที่เดียว คือ หอศิลป์พิงพฤกษ์ ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่านครับผม ที่นี่เค้าเก๋ยังไง? ต้องบอกก่อนว่าชื่อก็สื่ออยู่ว่าเป็นหอศิลป์ ดังนั้น ในสถานที่นี้จึงมีการจัดแสดงศิลปะแบบเมืองน่านดั้งเดิมของอาจารย์ สุรเดช  กาละเสน    ศิลปินเจ้าของผลงานจิตรกรรมฝาผนังตำนานประวัติศาสตร์เมืองน่าน ในอุโบสถวัดมิ่งเมืองซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หอศิลป์พิงพฤฏษ์มีให้ดูหมด ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม สื่อผสม ประติมากรรม ส่วนนี้ต้องสะกิดต่อมติสท์กันบ้างไม่มากก็น้อย ผลงานศิลปะแบบน่านดั้งเดิมของที่นี่ไม่ได้จะอยู่แต่ในกรอบรูปแขวนโชว์นะครับ แต่กระจายอยู่ทั่วไปตามส่วนต่างๆในบ้าน เข้าไปดูแล้วจะรู้สึกได้เลยว่านี่คือสถานที่ที่ผสมผสานความเป็นที่อยู่อาศัย และสุนทรียศาสตร์เอาไว้อย่างลงตัวจริงอะไรจริง ที่เก๋กว่านั้นคือครัวมะเก่า  ครัวไม้ที่เก็บรวมรวมสิ่งของวัสดุเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดน่านที่ตกทอดสืบกันมาเป็นสิบสิบปี หลายชิ้นหาไม่ได้แล้วในปัจจุบัน แถมยังมีมุมทำผ้ามัดย้อมให้เราได้ทดลองทักษะด้านศิลปะด้วยตัวเอง ภูมิใจได้โล่ห์อ่ะจุดนี้ อุปกรณ์อะไรเค้าก็มีให้พร้อม สร้างสรรค์งานศิลปะเอากลับบ้านไปอวดคุณทวด แรงมากกกก

สองที่ที่แนะนำมานี้ เป็นแค่เศษเสี้ยววววของที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกมากมายในประเทศไทยที่เราสามารถไปเสาะแสวงหาได้อีกมากนักนะครับ วัฒนธรรมตีความรวมไปถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเกือบทั้งหมด และยังบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และวิถีชีวิตอันยิ่งใหญ่ของประเทศเราอีกด้วย ดังนั้นการมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมสามารถทำได้ง่ายๆเพียงเปิดใจ อย่าไปคิดว่าเราเป็นคนนอก ยึดถือวัฒนธรรมกรุงเทพฯ แล้วมองว่าวัฒนธรรมพื้นเมืองเป็นสิ่งที่ทีเอาไว้ดูเท่านั้นครับ ให้มองว่าวัฒนธรรมเหล่านี้คือวัฒนธรรมที่หลากหลายของไทย และเราเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมเหล่านี้ ให้เราโอบอุ้ม ยอมรับ และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เพื่อเปิดมุมมองใหม่และเข้าใจความแตกต่างที่เกิดขึ้น จะทำให้ประสบการณ์การท่องเที่ยวของเราลึกซึ้ง มีความหมาย และได้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมายครับ ไปเที่ยวมาสนุกขนาดไหนมาเล่าให้เราฟังได้นะครับ มีคอมเม้นท์อะไรก็จัดมาเลย อย่าไปกลัว!จะรอฟังครับผม
ที่มา http://www.creativetourism.com/c_articles/detail_articles/

เที่ยวอย่างเข้าใจ ไปกับ“การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”


การมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงตัวเลขและปริมาณแต่เพียงอย่างเดียว กลายเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบให้กับการท่องเที่ยวไม่น้อย ดังนั้นกลุ่มคนในแวดวงท่องเที่ยวมากมายจึงหันมาทบทวนรูปแบบการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น พร้อมคิดค้นการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่เคยประสบพบเจอ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ที่เพิ่งมีการให้นิยามของการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้มาได้ไม่นาน
     
       “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” เป็นคำศัพท์บัญญัติใหม่เพื่อใช้เรียกการท่องเที่ยวประเภทหนึ่งซึ่งมีมานานแล้ว แต่กลับไม่มีชื่อเรียก และเริ่มมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเภทนี้ในแวดวงการท่องเที่ยวแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ เป็นเวลาร่วมหนึ่งศตวรรษ จนนักวิชาการและผู้คร่ำหวอดด้านการท่องเที่ยวจากหลายมุมโลกได้รวมตัวกันในงานประชุมนานาชาติเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ เมืองซานตาเฟ มลรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายปี 2552 ทำให้เกิดคำนิยามอย่างเป็นทางการสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ว่าคือ “การท่องเที่ยวที่เน้นการเรียนรู้ในเรื่องศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของสถานที่ ผ่านประสบการณ์ตรงและการมีส่วนร่วมกับผู้คนเจ้าของวัฒนธรรม”
     
       ดร. มุทริกา พฤกษาพงษ์ นักวิจัยอิสระเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กล่าวขยายความให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือการท่องเที่ยววิถีชีวิตที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะในเรื่องวิถีการอยู่อาศัย การประกอบอาชีพ อาหารการกิน ศิลปหัตถกรรม และอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชุมชนและผู้คนเจ้าของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวมีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ ผ่านการพูดคุยสนทนา และผ่านกิจกรรมทดลองปฏิบัติต่างๆ เช่น ทดลองทำอาหาร ทดลองทำศิลปหัตถกรรม หรือทดลองใช้ชีวิตตามอย่างผู้คนในชุมชน หรือการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจในวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของผู้คนและสถานที่นั้นๆ ผ่านประสบการณ์ตรง เรียกว่าเป็นเวทีการเรียนรู้แบบมีชีวิตนั่นเอง


เที่ยวอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้การท่องเที่ยวไทยยั่งยืน

       ด้าน พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ทางอพท. ได้นำการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลใน 3 ส่วน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปก็อาจทำให้เสียสมดุล เช่น หากมุ่งเน้นจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ ก็จะทำให้ละเลยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและทำให้เสน่ห์ของชุมชนหายไป หรือหากมุ่งเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือศิลปวัฒนธรรมมากเกินไปจนไม่ปรับตัวเพื่อเปิดรับการท่องเที่ยว ชุมชนก็จะขายรายได้ เป็นต้น การพัฒนาการท่องเที่ยวจึงต้องคำนึงถึง 3 ส่วนนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
     
       สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรม แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ฯลฯ หากนักท่องเที่ยวเที่ยวหันมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กันมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเรา อีกทั้งคนในชุมชนก็ยังเกิดสำนึกรักในเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ที่ตนเองมีอยู่ หากนักท่องเที่ยวและเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกด้านดีร่วมกันเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนได้อย่างที่ตั้งใจ

ที่สุด.. ในเมืองไทย


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=yJC8qjmT3oM&feature=related