วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555
เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=MxwmFRpb2OQ&feature=related
เมืองไทย ครั้งหนึ่งในชีวิต
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=72bjKVKPI0o&feature=related
วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
โรงแรมปลอดบุหรี่ สถานที่พักนักเที่ยวรักสุขภาพ โรงแรมปลอดบุหรี่ สถานที่พักนักเที่ยวรักสุขภาพ
โรงแรมปลอดบุหรี่ สถานที่พักนักเที่ยวรักสุขภาพ
"การท่องเที่ยว พักผ่อน จะยิ่งพิเศษและมีความสุขมากขึ้นถ้าได้อยู่ในโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ"
แล้วแบบไหน คือ โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ
"โครงการโรงแรมปลอดบุหรี่ (Smoke-Free Hotel)" เป็นจุดเริ่มต้น ที่ขยายไปสู่การทำมาตรฐานของโรงแรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่ประกอบไปด้วยมาตรฐาน 9 อย่าง คือ 1.โรงแรมปลอดบุหรี่ 2.สปาและการนวดสร้างเสริมสุขภาพ 3.สถานที่ออกกำลังกายและสระว่ายน้ำ และกิจกรรมกลางแจ้ง 4.พนักงานทำความ สะอาด 5.ครัวและห้องอาหาร 6.รายการอาหารเพื่อสุขภาพ 7.งานวิศว กรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างเสริมสุขภาพ 8.การจัดประชุมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 9.รายการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันโรงแรมปลอดบุหรี่มีทั้งหมด 570 แห่ง ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการด้วย มูลนิธิใบไม้เขียว ภายใต้การสนับสนุนจากสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีโรงแรมที่ได้รับดาวเงิน จำนวน 35 แห่ง คือ สามารถจัดห้องพักปลอดบุหรี่ได้ถึงร้อยละ 65-75 ของห้องพักทั้งหมด ระดับดาวทองจำนวน 372 แห่ง คือ มีพื้นที่ห้องพักปลอดบุหรี่มากกว่าร้อยละ 75-100
จากผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อทัศนคติของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เข้าพักในโรงแรมระดับ 3-4 ดาว จำนวน 5,550 คน ในโรงแรม 25 แห่ง อาทิ กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา กระบี่ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 มีทัศนะว่าควันบุหรี่มีผลต่อสุขภาพของคนรอบข้าง ร้อยละ 92 ต้องการพักห้องที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่าทั้งในห้องพัก และห้องอาหาร ส่วนมากคนต้องการให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
ขณะนี้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข กำหนดสถานที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนโดยรวม ซึ่งบริเวณพื้นที่ของโรงแรม รีสอร์ต หรือสถานที่ตากอากาศ ก็กำหนดให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่เช่นกัน
ท.พ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การที่มีโรงแรมเข้าร่วมโครงการโรงแรมปลอดบุหรี่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรงแรมที่เข้าร่วม 570 แห่ง และยังมีโรงแรมรุ่นใหม่ๆ ที่ทยอยเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัลแบบเกียรติบัตรถึง 163 แห่ง ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการเริ่มต้นที่ดีของสังคมไทยที่จะสร้างชื่อเสียงให้ปรากฏต่อสายตานักท่องเที่ยวว่าเมืองไทยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาบุหรี่
ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่คนเราเลิกบุหรี่ก็เท่ากับต่อลมหายใจตัวเองและคนรอบข้างให้ยาวนาน ปราศจากโรค และเพื่อลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อมที่มีแต่ให้อากาศบริสุทธิ์เสมอมา ซึ่งแน่นอนว่าหากสังคมไทยทำได้ ก็ย่อมโชว์ภาพลักษณ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เช่นกัน
โรงแรมที่จะเข้าร่วมโครงการ "โรงแรมสร้างเสริมสุขภาพ" จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ ต้องผ่านการเข้าร่วมโครงการโรงแรมปลอดบุหรี่ในระดับต่างๆ ได้โดยมีเนื้อหาคือ จัดให้มีพื้นที่ปรับอากาศสาธารณะ เป็นพื้นที่ไม่สูบบุหรี่ และติดป้าย ห้ามสูบบุหรี่ ให้เห็นชัดเจน เพื่อสามารถปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการแจ้งให้ผู้ที่มาใช้บริการว่า มีห้องปลอดบุหรี่ให้เลือกได้ตามความต้องการ ก่อนที่จะขยายไปทำตามมาตรฐานทั้ง 9 ข้อ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการก็มีการแจกรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้ดำเนินธุรกิจเข้าร่วมมากขึ้น ตัวอย่าง รีสอร์ตที่โดดเด่นในด้านความเข้มงวดของการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบและกำหนดให้ห้องพักกลายเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่อย่างชัดเจน
นายอุดม ศรีมหาโชตะ กรรมการบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บ้านทะเลดาวหัวหิน รีสอร์ท ซึ่งได้รับรางวัลดาวทองอธิบายว่า ทางรีสอร์ตไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในห้องพัก แต่จะจัดโซนสูบบุหรี่ไว้ข้างนอกละพยายามปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มรื่น เพื่อจะได้มีอากาศที่บริสุทธิ์ เหตุผลที่ต้องดำเนินการเช่นนี้ เพราะในอดีตหากอนุญาตให้ผู้เข้าพักสูบบุหรี่ ภาระค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ก็มากไปด้วย เราลงทุนมากก็ต้องเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติม คงไม่มีลูกค้ารายใดต้องการ
นายโฮลเกอร์ โกรนินเกอร์ ผอ.ฝ่ายอาคาร สถานที สยามเบยชอร์รีสอร์ท พัทยา ในฐานะตัวแทนโรงแรมที่ได้รับรางวัลระดับดาวเงิน กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการรณรงค์ปลอดบุหรี่ นอกจากเรื่องการจัดโซนห้องพักที่แบ่งชัดเจนเป็นสองส่วนแล้ว เรื่องการกำชับพนักงานไม่ให้สูบก็สำคัญไม่ต่างกัน การรับพนักงานแต่ละครั้งนอกเหนือจากความสามารถแล้ว หากรายใดไม่มีประวัติการสูบบุหรี่จะพิจารณาเป็น ลำดับแรกๆ ส่วนในตัวลูกค้าเองแรกเข้าพักพนักงานบริการจะสอบถามก่อนว่า สูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าสูบก็จะแนะนำห้องในโซนที่สูบบุหรี่ให้ เพื่อความสะดวกของลูกค้า นอกจากนี้ยังมีกระบวน การสอบถามผ่านการจองห้องพักออนไลน์ด้วย เพราะทางรีสอร์ตเห็นว่า เรื่องสุขภาพที่ดีต้องมาก่อน จึงเหมาะแก่ช่วงเวลาพักผ่อน
นายวิสูตร เทศสมบูรณ์ ผู้จัดการกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ตในเครือซันเซ็ทกรุ๊ป กล่าวว่า โครง การนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง โรง แรมพร้อมจะร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ โดยปีนี้รู้สึกภูมิใจที่มีโรงแรมในเครือได้รับรางวัลถึง 2 แห่ง คาดว่าในปีต่อๆ ไปจะพยายามพัฒนาพื้นที่ของโรงแรมให้ปลอดบุหรี่ถึงร้อยละ 90 เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งต่อบุคคลและต่อสภาพแวดล้อม
"อยากเชิญชวนให้โรงแรมทุกแห่งมาร่วมโครงการ เรื่องบุหรี่เป็นปัญหาเรื้อรัง คนในสังคมควรมีความผิดชอบ ซึ่งส่วนนี้เป็นหัวใจหลักในการกำชับพนักงานให้สูบบุหรี่ในพื้นที่ๆ ทางโรงแรมจัดให้เท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่ต้องต้อนรับลูกค้าบ่อยๆ และติดบุหรี่ก็ต้องกำชับเรื่องความสะอาด ของร่างกายและกลิ่นตัว" นายวิสูตร กล่าว
หากเริ่มต้นจากการลดสิ่งที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างควันบุหรี่ได้ ก็จะนำไปสู่การเริ่มต้นสร้างเสริมสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ ทั้งสิ่งแวดล้อมที่ดี อาหารดีๆ สถานที่ที่เหมาะกับการออกกำลังกาย ไม่ว่านักท่องเที่ยวคนใดก็อยากเข้ามาใช้บริการ เพราะจะได้ทั้งความสุข และสุขภาพดีๆ กลับบ้าน
ที่มาhttp://khaosod.myfri3nd.com/blog/2011/08/18/entry-7
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=eyNGYpdcgRQ
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน มุ่ง สร้างกระแสให้คนไทยให้รู้สึกตื่นตัวอยากลุกออกมาท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพื่อช่วยเศรษฐกิจชาติ และ ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวนั้นกลับมาคึกคักเหมือนที่เคยเป็นมา ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของคนไทยต้องไปสัมผัสด้วยสายตาของตัวเอง โดยนำเรื่องของเวลาเข้ามาเป็นจุดกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว เพราะถ้าในปีนั้นๆใครพลาดแล้ว ก็ถือว่าจะพลาดเลย
แนวความ12 เดือน 24 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยที่ถูกคัดสรรมาแล้วว่า น่าดูที่สุด สวยที่สุดในแต่ละเดือน
7 ดาว 7 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยที่สุด น่าเที่ยวที่สุดในยามค่ำคืน
9 ตะวัน 9 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวยามกลางวันที่จะงดงามที่สุดเมื่อถูกอาบด้วยแสงตะวัน
12 เดือน….
คิด คือ มองว่าเราจะสามารถสัมผัสกับสุดยอดมุมมองของการท่องเที่ยว เฉพาะเมื่อเราได้ไปอยู่ในตำแหน่งและ ในช่วงเวลาที่ถูกต้องเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาของการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุด สวยงามมากที่สุด ดังนั้นการที่เราได้รู้ว่าช่วงเวลาไหนควรไปที่ใด จุดไหนที่ต้องไป และเรียนรู้การท่องเที่ยวแบบถูกต้องก็จะยิ่งทำให้เราได้ชื่นชม และ ใช้เวลาในการออกไปท่องเที่ยวได้อย่างคุ้มค่า คุ้มเวลา และสมบูรณ์มากที่สุด จากแนวความคิดนี้จึงเป็นที่มาของโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
12 เดือน 24 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยที่ถูกคัดสรรมาแล้วว่า น่าดูที่สุด สวยที่สุดในแต่ละเดือน
7 ดาว 7 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยที่สุด น่าเที่ยวที่สุดในยามค่ำคืน
9 ตะวัน 9 ความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวยามกลางวันที่จะงดงามที่สุดเมื่อถูกอาบด้วยแสงตะวัน
12 เดือน….
ที่มาhttp://www.anubansatit.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538922803&Ntype=8
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
สุดยอดโรงแรมแนวสร้างสรรค์และเซ็กซี่
การออกแบบตกแต่งห้องพักของโรงแรม นับเป็นงานที่น่าสนุกสนานและท้าทาย มากกว่างานออกแบบที่พักอาศัยแบบอื่นๆ เพราะการออกแบบโรงแรม เป็นการออกแบบที่พักแบบชั่วคราว จึงมีโจทย์และแนวทางการออกแบบ แตกต่างไปจากการออกแบบที่พักอาศัยที่ถาวรเช่นบ้าน
โรงแรมต้องการสร้างจุดขายของตนเอง เพื่อให้โดดเด่นกว่าโรงแรมอื่นๆ และการเข้าพักของแขก ก็ชั่วครั้งชั่วคราว การออกแบบจึงแทบไม่มีข้อจำกัดเลยก็ว่าได้ จะให้ตื่นเต้น โลดโผน พิสดาร ยังไง พอได้เวลาปรับปรุง (ประมาณ 5-8 ปี) เขาก็เปลี่ยนใหม่หมดได้ เพราะใช้งานคุ้มค่าแล้ว ไม่เหมือนบ้านที่เราอยู่ ต้องอยู่ทุกวัน จะมาเปลี่ยนเรื่อยๆก็จนกันพอดี เรามาดูที่เขาออกแบบกันดีกว่า
ที่มา http://www.decorreport.com/a19385-%E0%B8%AA-%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A3-%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8B-%E0%B8%81%E0%B8%8B


เทรนด์ใหม่ “บูติค โฮเทล ลดโลกร้อน” แนวคิดเพื่อความยั่งยืน
ในช่วงระยะหลายปีมานี้ กระแสของ “บูติค โฮเทล” (Boutique Hotel) นับได้ว่ามาแรงเป็นอย่างยิ่ง และแนวโน้มความนิยมในปีนี้ก็คาดว่าน่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากการที่มีโรงแรม หรือ รีสอร์ท ที่เรียกตัวเองว่าเป็น “บูติค โฮเทล” ผุดขึ้นมากมาย
นอกจากนี้ในยุคที่โลกตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน ตื่นตัวกับกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติ ทำให้ บูติค โฮเทลยุคใหม่มีการปรับตัวมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นับเป็นเทรนด์โรงแรมยุคใหม่ที่จะมาแรงในปีนี้และต่อไปในอนาคต
อะไรคือ “บูติค โฮเทล”
เชื่อกันว่า บูติค โฮเทล เกิดขึ้นครั้งแรกในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อันเนื่องมาจากความต้องการและไลฟ์สไตล์ของนักเดินทางที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ต้องการประสบการณ์และความประทับใจในการเข้าพักในโรงแรม นอกเหนือจากความหรูหรา สะดวกสบาย ที่มีอยู่ในโรงแรมทั่วๆ ไป เรียกได้ว่า บูติค โฮเทล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักเดินทางที่ต้องการความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์
บูติค โฮเทล จะเป็นโรงแรมขนาดเล็ก ที่ให้ความสำคัญในการตอบสนองความต้องการของนักเดินทางในแต่ละกลุ่ม และส่วนใหญ่จะมีการดีไซน์ การตกแต่ง หรือธีมในการสร้างโรงแรมที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกจุดหนึ่งก็คือ การใส่ใจในรายละเอียดของลูกค้าแต่ละคน เพราะเนื่องจากโรงแรมมีขนาดเล็ก จึงทำให้พนักงานมีความใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากกว่าโรงแรมขนาดใหญ่
ด้วยเหตุที่ต้องค้นหาตัวตนที่เป็นจุดเด่นของตัวเอง แต่ละโรงแรมจึงพยายามสรรหาบุคลิกของตัวเอง ให้แตกต่าง และโดดเด่นจากคู่แข่ง เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เลือกเข้ามาใช้บริการ
และอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงควบคู่กับบูติก โฮเทล ก็คือ โรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
บูติค โฮเทล กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
สมัยนี้ ไม่ว่าจะไปส่วนไหนของโลก ก็มีแต่คนพูดถึงเรื่องโลกร้อน และการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญและเข้าไปสอดแทรกกับแทบทุกเรื่องในชีวิต ซึ่งก็รวมไปถึงการเดินทางท่องเที่ยว และการเข้าพักโรงแรมด้วยเช่นกัน
“กรีน โฮเทล” แนวคิดที่ควบคู่ไปกับการทำบูติคโฮเทล ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้กับแหล่งท่องเที่ยว และให้กับตัวโรงแรมเองด้วย
โรงแรมส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเริ่มสนับสนุนให้แขกที่มาพักเก็บผ้าเช็ดตัวไว้ใช้ซ้ำโดยที่ไม่ต้องส่งซักทุกวัน หลายๆ โรงแรมก็เปลี่ยนมาใช้บัตรเพื่อเปิดระบบไฟฟ้าในห้องพัก และใช้หลอดประหยัดไฟในพื้นที่ส่วนกลาง โรงแรมจำนวนมากหันมาใช้กระดาษรีไซเคิล จำกัดการใช้พลาสติก ใช้ฝักบัวประหยัดน้ำ และใช้โปรแกรมชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิด “กรีน โฮเทล”
ตั้งแต่ปี 2550 ก็เริ่มมีการจัดอันดับ “กรีน โฮเทล” ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากอโกด้า และสำหรับปี 2553 ที่เพิ่งผ่านมา ก็ได้มีการจัดอันดับโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยเช่นกัน โดยนอกเหนือจากจะเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นหลักแล้ว ยังเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์วัฒนธรรม และชุมชนอีกด้วย
ที่มา http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000184623
รีสอร์ทเพื่อสุขภาพสายพันธุ์ใหม่
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์ ยิ่งในปัจจุบันโรคภัยมีมากมายอันเกิดจากสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไป ระบบการใช้ชีวิตที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคที่มีวิวัฒนาการใหม่ๆ โดยตลอด เกิดโรคระบาดสายพันธ์ใหม่มากมาย เช่น ไข้หวัด 2009 เป็นต้น ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ ซึ่งต้นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีนั่นเอง
อาคารสาธารณะเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญที่ทำให้โรคแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว มาตรการป้องกันไม่ใช่เพียงแค่วัวหายล้อมคอก แต่ควรจัดระบบไว้ตั้งแต่ต้นทั้ง การระบายอากาศที่ดี การระบายน้ำเสีย การลดการสะสมของฝุ่นละออง
อาคารสาธารณะประเภทโรงเรียน, ติวเตอร์, โรงภาพยนตร์, ภัตตาคาร, ห้างสรรพสินค้า ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งการออกแบบที่ดีจะช่วยลดการแพร่เชื้อได้
โรงแรมและรีสอร์ทก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง ถ้าได้รับการออกแบบที่ดีและนำเอาการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ, การบำบัดรักษาโรคไปเป็นจุดขายก็น่าจะเป็นวิธีการสร้างสรรค์ที่ดีและแตกต่างในยุคนี้ ในขณะที่โรงพยาบาลที่ด้อยคุณภาพอาจจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ใหญ่ที่สุด ถ้าไม่ได้ตรวจสอบระบบภายในอาคารให้ดี เช่น เครื่องปรับอากาศที่อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแพร่กระจายอันรวดเร็ว ระบบท่อฝังของเครื่องปรับอากาศที่ควรจะสามารถเข้าไปทำความสะอาดได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึง โรงพยาบาลบางแห่ง หนู, แมลงสาบและสัตว์นำโรคอื่นๆ อาจเพาะพันธ์อยู่เหนือฝ้าเพดานจนไม่สามารถกำจัดได้
ไอเดียที่สามารถผนวกมาตรฐานในการให้บริการของโรงแรมหรือรีสอร์ท กับมาตรฐาน การดูแลสุขภาพ, รักษาโดยแพทย์ก็น่าจะเป็นโครงการสายพันธ์ใหม่ที่ทันกับกระแสความห่วงใยเรื่องสุขภาพของคนในโลกนี้โครงการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ, โครงการโรงพยาบาลแนวใหม่ผสมผสานโรงแรมและรีสอร์ท โครงการรีสอร์ทที่เป็นศูนย์บำบัดโรคบางประเภท ฯลฯ
แนวคิดที่ใช้วิธีการรวม ผนวกของ 2 โครงการเป็นการนำข้อดีของอีกโครงการบวกกับข้อดีของอีกโครงการแล้วสร้างสรรค์ออกมาเป็นธุรกิจแนวใหม่
โรงแรมและรีสอร์ทมีการให้บริการและการดูแลรักษาคนที่มาใช้จากพยาบาลและคุณหมอ หรือโรงพยาบาลที่ไม่น่าเบื่อ ไม่น่ากลัวอีกต่อไปเพราะบรรยากาศการตกแต่งสวยยิ่งกว่าโรงแรมเสียอีก โปรแกรมข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบเริ่มจากการนำลักษณะเฉพาะของโครงการมาใช้ร่วมกันจาก 2 ความต่างดังนี้
1. การออกแบบห้องพัก เป็นการผสมไอเดียของเตียงโรงพยาบาลที่ปรับระดับได้กับเตียงโรงแรม, รีสอร์ท ที่มีการตกแต่งหัวเตียงแบบมีเอกลักษณ์ การออกแบบห้องน้ำโดยกำหนดเป็นบานเลื่อนและไม่มีสเต็ปเพื่อความปลอดภัยมีราวจับกันลื่น ใช้พยุงตัวในขณะที่มีสีสันบรรยากาศสวยงามไม่เหมือนโรงพยาบาลมีการกำหนดวัสดุประเภททำความสะอาดง่าย ไม่มีร่องลึก คำนึงถึงผิวสัมผัสที่ดีสำหรับผู้ป่วยมีการวางระบบท่อออกซิเจน และท่ออื่นๆ สำหรับการรักษาโรคแต่ฝังให้กลมกลืนกับบรรยากาศไม่ให้ดูน่ากลัวแต่กลับดูน่าอยู่แทน ซึ่งถึงแม้โรงแรม รีสอร์ทแห่งนี้จะไม่รองรับคนป่วย แต่คนสูงอายุหรือคนทั่วไปก็ใช้ได้ดีในแนวทางของ “UNIVERSAL DESIGN” ซึ่งกลายเป็นจุดขายใหม่ของโครงการเลยก็เป็นได้
2. การออกแบบร้านอาหาร, ภัตตาคาร มีการกำหนดเมนูเพื่อสุขภาพ สร้างความสมดุลของอาหาร มีการออกแบบแสงสว่างที่ไม่ทำให้สีอาหารเพี้ยนจากความเป็นจริง มีการออกแบบการระบายอากาศ ไม่ให้โครงการมีกลิ่นอับ มีการแนะนำการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับอาการป่วย โดยมีนางพยาบาล เจ้าหน้าที่เพื่อสุขภาพอนามัยคอยดูแลตลอด ออกแบบห้องพิเศษสำหรับบางโรคที่ต้องการความเป็นส่วนตัวเพื่อไม่ให้เกิดการระบาด ออกแบบอาคารที่เปิดโล่ง ไม่ให้เกิดการเก็บฝุ่น ไม่มีฝ้าเพดานเน้นโชว์โครงสร้างและสัจจะวัสดุให้ดูแลรักษาง่าย
3. การออกแบบโถงต้อนรับและส่วนบริการทั่วไป มีลักษณะเฉพาะ เช่น การต้อนรับแบบ ลิฟวิ่ง คือไม่จำเป็นต้องปะทะกับเคาน์เตอร์ เปลี่ยนวิธีการให้บริการแบบเป็นกันเองเป็นชุดนั่งเล่นรับแขก เจ้าหน้าที่เป็นพยาบาลหรือบุรุษพยาบาล โดยแต่งกายให้มีสไตล์สวยงาม มีห้องสำหรับตรวจไข้เบื้องต้นและแบ่งแยกกลุ่มคนไข้ออกเป็นโซนๆ ตามประเภทกลุ่มโรคต่างๆ แล้วกำหนดการให้บริการ โดยใช้พื้นฐานทางสัญจรและการแบ่งส่วนหน้า (แขกผู้ป่วย) ส่วนหลัง (เจ้าหน้าที่พนักงาน) อย่างชัดเจนผนวกการแบ่งระหว่าง โรงแรมและโรงพยาบาลอย่างกลมกลืน
ที่มา http://www.oknation.net/blog/u-sabuy/2009/06/27/entry-1

เที่ยวลำคลอง ท่องวิถีไทย
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=DP5Y0fq_u5M&feature=related
ท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=QdcuJ_A2OKM
การท่องเที่ยวชุมชน บนทางเลือก-ทางรอด
การท่องเที่ยวชุมชน บนทางเลือก-ทางรอด
บทความน่ารู้ : เรื่องการท่องเที่ยวชุมชน บนทางเลือก-ทางรอด
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน
ปัจจุบันรูปแบบการท่องเที่ยวบ้านเราได้ปรับเปลี่ยนไปหลายแนวทาง นอกเหนือจากการท่องเที่ยวตามประเพณีนิยมที่ทำกันมายาวนานที่ไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักคุ้นเคยกันดี ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่จำเพาะเจาะจงมากขึ้น
ทุกวันนี้เรามีชุมชนเล็กๆมากมายที่เปิดตัวเองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนนี้กำลังเป็นจุดเปลี่ยนของโลกแห่งการท่องเที่ยว เป็นทางเลือกใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว
นิยาม การท่องเที่ยวโดยชุมชน (จากหนังสือ เที่ยวให้รู้เปิดประตูสมอง) คือการท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดกระบวนการทิศทาง และรูปแบบการท่องเที่ยวของตนเอง ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยวนั้นๆ และมีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนนั้นมีจุดขายที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต การอนุรักษ์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่คนรุ่นลูกหลานและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง
การท่องเที่ยวชุมชน ผลดี-ผลเสีย
นิยาม การท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดกระบวนการทิศทาง และรูปแบบการท่องเที่ยวของตนเอง ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยวนั้นๆ และมีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนนั้นมีจุดขายที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต การอนุรักษ์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่คนรุ่นลูกหลานและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง
อาจารย์ ธันยพร วณิชฤทธา นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ ได้กล่าวถึงข้อดีของการท่องเที่ยวชุมชนว่า ก่อนอื่นมันจะมี 2 คำ คือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งแตกต่างกัน “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” จะจัดการเองโดยชุมชน แต่ “การท่องเที่ยวชุมชน” อาจจะอาศัยองค์ประกอบของชุมชนที่มีอยู่แล้วหรือศักยภาพเป็นตัวฐาน แล้วอาจจะเป็นผู้ประกอบการหรือรัฐเข้ามาให้เที่ยวในชุมชน
สำหรับประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับมีหลายทาง คือประโยชน์ในด้านการพัฒนาของชุมชนเองโดยที่การท่องเที่ยวทำขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาหรือความต้องการของชุมชนบางอย่างแต่ไม่ได้เพื่อความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นประโยชน์ก็จะตอบกับชุมชนนั้นๆ เช่น ต้องการแก้ปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อม ชุมชนนั้นก็จะได้การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม ดังนั้นประโยชน์ก็คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายกับชุมชนในตอนแรกเพื่อประโยชน์ทางด้านการพัฒนาการจัดการมากกว่าประโยชน์ในเรื่องรายได้
แต่หากชุมชนนั้นไม่ได้รับทราบความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง ยังไม่รู้จักว่าตัวเองต้องการอะไร อาจจะเป็นข้อเสียเพราะเมื่อมีการท่องเที่ยวกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจมันจะมาพร้อมๆกัน คือพอคนมาเที่ยวก็ต้องเกิดการใช้จ่าย แต่ถ้าผู้จัดการท่องเที่ยวชุมชนไปเห็นถึงรายได้มากกว่าเป้าหมายในตอนแรก เช่น เป้าหมายในเรื่องของการอนุรักษ์ การดูแลสิ่งแวดล้อม แม้กระทั้งการแก้ปัญหาการยากจน ถ้าเรามุ่งเป้าหมายเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเดียวก็จะได้ข้อเสีย อาจมีการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เข้าใจกัน เพราะลืมความต้องการของตัวเองไป
และความไม่พร้อมเมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาก็ไม่มีการเตรียมตัว ว่าต้องทำอย่างไร ต้องจัดสถานที่อย่างไรให้เหมาะสม หรืออาจจะเป็นภัยกับนักท่องเที่ยวถ้าไม่มีการเตรียมตัว อาจจะมีกลุ่มคนที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรืออาจจะนำเรื่องของวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา ถ้าปราศจากการเตรียมพร้อมก็จะเป็นข้อเสียมากกว่า แต่ถ้ามีการเตรียมพร้อมข้อเสียก็จะมีน้อยลง ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะแก้ไปเรื่อยๆ การท่องเที่ยวมันจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่แล้ว
ส่วนประโยชน์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อไปท่องเที่ยวชุมชนก็คือ นักท่องเที่ยวก็จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งโดยที่ผู้จัดการเป็นคนที่เป็นเจ้าของโดยตรง การท่องเที่ยวชุมชนแตกต่างกับการท่องเที่ยวอื่นๆตรงที่ผู้จัดการเป็นเจ้าของเอง การท่องเที่ยวอื่นๆผู้จัดการอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของเองแต่อาศัยแหล่งท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวชุมชนนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับตัวตนหรือวัตถุประสงค์ สมมุติต้องการนำเสนอในด้านของสิ่งแวดล้อมในเรื่องของต้นไม้ อาจจะพาไปดูพรุ ป่า น้ำ ก็จะนำเสนอสิ่งนั้น จะถูกนำเสนอจากคนที่เป็นเจ้าของหรือคนใน ก็จะได้รับประโยชน์ที่เป็นข้อเท็จจริงและจะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน อาจจะเป็นการปลูกฝังการอนุรักษ์หรืออะไรก็แล้วแต่ก็จะตอบโจทย์นั้นๆไปพร้อมๆกัน
อ.ธันยพร ยังแนะอีกด้วยว่า ชุมชนต้องตระหนักถึงเป้าหมายของตนเองเป็นสิ่งแรก ว่าเราอยากจะทำท่องเที่ยวเพื่ออะไร ไม่ใช่ตามเขา ถ้าตามเขา เขาทำแล้วดียังไง ทำตามเขาแล้วคนมาเยอะ พี่น้องเรารวย ก็ไม่ดี ต้องรู้ว่าทำไปเพื่ออะไร เพื่อป้องกันการย้ายถิ่น ไม่อยากให้ลูกหลานไปทำงานข้างนอก แล้วมาวางแผนจะดำเนินการอย่างไรในด้านการท่องเที่ยวลูกหลานจะได้มาทำงานสร้างเยาวชน มันก็จะมีประโยชน์แล้วเป็นไปตามเป้าหมาย เราต้องระมัดระวังว่าเราต้องการอะไร แล้วเราทำไปตามนั้นไหม
อีกเรื่องที่ควรต้องระมัดระวังก็คือเรื่องความชัดเจนของผู้ดำเนินการ คือ เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว ใครล่ะที่จะเป็นผู้ดำเนินการ ทุกคนควรต้องมีส่วนร่วม ขึ้นอยู่กับว่าจะมีส่วนร่วมในลักษณะใด เช่นผู้นำชุมชนจะต้องมีกระบวนการวางโครงสร้างว่า กลุ่มเด็กจะมีหน้าที่อะไร กลุ่มผู้ดำเนินการต้องมีความชัดเจนแล้วเป็นไปอย่างประสานความร่วมมือสามัคคีกัน ถ้าต่างคนต่างทำก็อาจจะขัดแย้งกันได้
อ.ธันยพร ยังได้ยกตัวอย่างชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ตนชื่นชอบ คือ บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ บ้านแม่กำปองได้รับรางวัลและมีคนพูดถึงเยอะ แต่แม่กำปองมีความน่าสนใจตรงสภาพพื้นที่ ธรรมชาติของภาคเหนือ สวยงาม สดชื่น เย็นสบาย และที่สำคัญคือเขามีระบบการจัดการที่เป็นตัวของตัวเองมีลักษณะเฉพาะ การทำงานของผู้นำ การทำงานของกลุ่ม ความเป็นธรรมชาติที่เป็นไลฟ์สไตย์ ชอบที่การเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนของเขามีสัดส่วนที่ชัดเจน
อีกแห่งคือ บ้านผาหมอน จ.เชียงใหม่ เป็นของชนเผ่าปากะยอ ประทับใจในความตั้งใจในการพัฒนา เขาเป็นชนเผ่าแต่เขาเรียนรู้ มีความเป็นตัวของตัวเอง เขาโชคดีที่มีธรรมชาติที่สวยงาม เคยเป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่งใจเดียวกันด้วย สองสถานที่นี้ต่างกัน ถ้าเป็นบ้านผาหมอนถือว่าเพิ่งเริ่มเป็นบันไดขั้นต้นๆ แต่ถ้าเป็นบ้านแม่กำปองอาจจะอยู่ชั้นบนๆแล้ว
รัฐจัดการ ผิดจริตท่องเที่ยวชุมชน
ด้าน รองศาสตราจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และนักวิชาการอิสระ กล่าวถึงการท่องเที่ยวชุมชนว่า การท่องเที่ยวชุมชนในความคิดของตนหมายถึง เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน คือให้คนในท้องถิ่นนั้นในชุมชนนั้นดูแลของเขาเอง เป็นไกด์ เป็นการอธิบายเอง แล้วก็มีรายได้จากการท่องเที่ยวอันนั้นมากระจายกันในท้องถิ่นเอง
“แต่ที่ผ่านๆมา ผมยังไม่เห็นเป็นรูปแบบที่ชัดเจน บางแห่งเราเห็นในรูปแบบของการไปเที่ยวตลาดนัด เช่น ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรี อันนั้นเป็นการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งที่คนในท้องถิ่นนั้นได้เต็มที่ เอาสินค้าท้องถิ่นของคนในมาขายเขาก็มีความมั่นคงมากขึ้น แล้วก็มีหลายๆแห่งที่ทำแบบนี้ แต่ถ้าที่ ททท. หรือ ทางราชการไปจัดการมันจะเละ คือมันไม่ถูกจริตของคนในท้องถิ่นเขา
“พวกนี้มักจะใช้ความคิดเห็นของกลุ่มของตนเองของพวกราชการเองไปบังคับไปบีบเขา แต่ถ้าเป็นการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่นที่เป็นชุมชน เขาจะดูแลของเขาเอง เขาจะอธิบายมรดกวัฒนธรรมของเขาเอง ถ้าเป็นมาจากข้างนอกก็จะเป็นแบบวิชาการ เช่น กรมศิลป์มาอธิบายประวัติศาสตร์นู่นนี่มันก็ไม่เห็นคน คืออย่างน้อยการท่องเที่ยวท้องถิ่นหัวใจมันคือคนที่เข้าไปท่องเที่ยวท้องถิ่นมันไม่ได้เที่ยวเฉพาะโบราณสถานหรือธรรมชาติแวดล้อมแต่มันเห็นคน แต่ถ้าการท่องเที่ยวแบบ ททท.หรือทางราชการ มันไม่เห็นคนเห็นแต่ของเห็นแต่สถานที่”
สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนนั้น รศ.ศรีศักดิ์ อธิบายว่า ถ้าเราทำให้ดี พยายามกระตุ้นให้การท่องเที่ยวแบบชุมชนหรือท้องถิ่นนี้เป็นผลพลอยได้จากการสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของคนใน การทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านซึ่งเป็นคลังความรู้ที่ถ่ายทอดขึ้นเอง ฉะนั้นการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่นจะเป็นผลตามมา หมายถึงท้องถิ่นเขาสามารถจัดการได้ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจ ดังนั้นการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่นหรือแบบชุมชนมันจะเสริมให้คนในท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและเป็นตัวของตัวเอง
“ส่วนนักท่องเที่ยวที่ได้เข้าไปท่องเที่ยวไปสัมผัสกับชุมชนนั้นๆ เขาก็จะได้ความรู้จากคนในท้องถิ่น กระชับผสานความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงความหลากหลาย เราต้องทำความเข้าใจว่านักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวในท้องถิ่นเขาต้องการรู้จักความเป็นมนุษย์ เพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน แต่ท่องเที่ยวแบบ ททท.หรือของรัฐ เขาส่งคนไปโฮมสเตย์ไปกินของท้องถิ่นไปดูหิ่งห้อย มันไม่ได้เรื่องมันไปทำลายความเป็นมนุษย์ของท้องถิ่นเขา ไม่ควรจะนำคนต่างถิ่นแปลกหน้าเข้าไปอยู่ในบ้านเขา สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น จะนำไปสู่การกลายเป็นซ่องในบ้านได้ถ้าไม่ระวังให้ดี แล้วมันจะทำให้คนในท้องถิ่นแตกแยกมุ่งที่จะหาผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวของตนเองอย่างเดียว”
รศ.ศรีศักดิ์กล่าว ก่อนยกตัวอย่างการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นของชุมชนทำโดยชุมชนอย่างแท้จริง คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในรุ่นแรกๆที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้น ชาวบ้านเขาก็ได้จากคนที่มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์โดยตรง อีกที่ คือ บ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี ก็เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจช่วยกันอย่างสมานสามัคคี
“ผมไม่เชื่อรัฐบาลและไม่เชื่อ ททท. ผมเชื่อศักยภาพของภาคประชาชน การท่องเที่ยวที่ถูกต้องต้องเป็นการกระทำของประชาชน แล้วเราแค่เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้เขามากกว่าที่จะไปสอนหรือไปทำแทนเขา” รศ.ศรีศักดิ์กล่าว
ด้าน อ.ธันยพร ได้กล่าวถึงอนาคตของการท่องเที่ยวชุมชนว่า “ในอนาคตการท่องเที่ยวชุมชนจะต้องเป็นที่นิยมสูงขึ้นแน่นอน โดยเรามองจากหลายๆด้าน เช่น ภาครัฐให้ความสำคัญมาก ด้านการท่องเที่ยวก็มีจัดการท่องเที่ยวชุมชนขึ้นมาเป็นหนึ่ง กิจกรรมเลย ซึ่งเป็นการขับรับกับสภาวะการโลก เป็นการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ถามว่าชุมชนจะอยู่ได้ไหม ชุมชนก็ต้องดูแลพื้นที่ของตนองมากขึ้น ไม่ต้องการให้ใครมาเป็นคนทำการ เมื่อเขาเห็นตัวอย่างเขาอยากจะสามารถดูแลชุมชนตนเองได้ เขาก็อยากจะทำกันเพิ่มขึ้นซึ่งจะไม่ลดลง”
นอกจากนี้ อ.ธันยพร ยังได้แนะนำถึงการปฏิบัติตัวของนักท่องเที่ยวทิ้งท้ายไว้ว่า นักท่องเที่ยวจะต้องรู้ก่อนว่าเราจะไปเที่ยวแบบไหน แล้วต้องดูว่าทางชุมชนนั้นเขาจัดการยังไง บางทีทางชุมชนอาจจะมีแผนการเที่ยวหรือตารางการเที่ยวไว้อยู่แล้ว เราก็ควรปฏิบัติตามเพื่อให้เราได้เรียนรู้ในกระบวนการที่ชุมชนได้นำเสนอไม่ใช้เอาตัวเองเป็นตัวตั้งอยู่ฝ่ายเดียว ซึ่งการท่องเที่ยวแบบนี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ของความสะดวกสบาย หรือต้องการการพักผ่อนแต่อย่างเดียวก็ได้ ดังนั้นต้องเข้าใจความต้องการของตนเองและต้องทำความเข้าใจชุมชนที่จะไปเที่ยวก่อน ต้องสอบถามให้ละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ การเตรียมตัวก่อนที่จะไป ซึ่งการท่องเที่ยวชุมชนมักจะเป็นการท่องเที่ยวควบคู่กับการเรียนรู้วิถีชีวิตอย่างแท้จริง
โรงแรมสีเขียว ปั่นไฟ แลกอาหาร
เป็นที่รู้กันว่าธุรกิจห้างสรรพสินค้าและโรงแรมนั้นเป็นสองธุรกิจที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำสิ้นเปลืองที่สุด ดังนั้น คราวน์ พลาซ่า โฮเต็ล ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก จึงปิ๊งไอเดียเด็ดในการช่วยโลกประหยัดพลังงาน ด้วยการเสนอให้ผู้เข้าพักต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 10 วัตต์ต่อชั่วโมง โดยการปั่นจักรยานออกกำลังอยู่กับที่เพียง 15 นาที แลกกับคูปองอาหารมูลค่า 36 ดอลล่าร์ฯ โดยรถจักรยานออกกำลังกายดังกล่าวจะมีไอโฟนเชื่อมต่ออยู่ที่ด้ามจับเพื่อวัดระดับพลังงานที่ผลิตได้ โดยผู้ที่สามารถเข้าร่วมได้มีเฉพาะแขกที่เข้าพักเท่านั้น
นอกจากนี้ โรงแรมสีเขียวแห่งนี้ยังมีการผลิตพลังงานหมุนเวียนโดยการคิดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ด้านหน้าของอาคารไว้อีกด้วย และหากไอเดียนี้ประสบความสำเร็จ ทางโรงแรมก็จะขยายผลต่อไปนี้ยังคราวน์ พลาซ่า โฮเตล ในสหราชอาณาจักร
ที่มา http://campus.sanook.com/921199/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism)
บทความโดย : สาระดีดี.คอม
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2542) ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว
1. ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำคัญอยู่ 6 ประการดังนี้ คือ
1.1 เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง
1.2 เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว
1.3 เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
1.4 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม
1.5 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว
1.6 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
2. หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีหลักการดังนี้ (อุษาวดี พูลพิพัฒน์, 2545)
2.1 การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable )ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเน้นการทำธุรกิจในระยะยาว
2.2 การลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นและการลดของเสีย (Reducing Over-consumption and Waste) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยวด้วย
2.3 การรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ (Maintaining Diversity )สังคม และวัฒนธรรม จะช่วยขยายฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต
2.4 การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning) เข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนาท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยว
2.5 การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมในท้องถิ่น(Supporting Local Economic)โดยคำนึงถึงราคาและพัฒนาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย
2.6 เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น( Involving Local Communities) ในด้านการจัดการผลตอบแทนของประชาชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการจัดการการท่องเที่ยว
2.7 การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ประชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง (Consulting Stakeholders and the Public) เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมแก้ปัญหา
2.8 เป็นการฝึกอบรมบุคลากร (Training Staff )โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนแก่บุคลากรท้องถิ่นทุกๆระดับ เพื่อยกระดับการบริการการท่องเที่ยว
2.9 ข้อมูลข่าวสารที่สื่อให้กับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในการเคารพต่อธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว (Marketing Tourism Responsibly) อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
2.10 การวิจัยและติดตามผล (Undertaking Research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
3. ลักษณะของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ (อุษาวดี พูลพิพัฒน์ผล, 2545)
3.1 เป็นการท่องเที่ยวที่มีความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ความต่อเนื่องของทรัพยากรธรรมชาติ และความต่อเนื่องของวัฒนธรรมซึ่งจัดเป็นทรัพยากรหลักในการท่องเที่ยว และสามารถมอบประสบการณ์นันทนาการที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยว
3.2 เป็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (Quality) หมายถึงการเน้นคุณภาพของสามส่วนหลัก คือ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม คุณภาพของประสบการณ์ นันทนาการที่นักท่องเที่ยวได้รับ และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
3.3 เป็นการท่องเที่ยวที่มีความสมดุล (Balance) หมายถึงความสมดุลระหว่างความต้องการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและขีดความสามารถของทรัพยากร
ที่มาhttp://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=219:sustainable-tourism&catid=25:the-project&Itemid=72
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)